ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะด้วยเทคโนโลยี เว็บแอพพลิเคชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อชุมชนท้องถิ่นกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์เกรียงศักดิ์ โยธาภักดี
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการขยะประเภทต่างๆ ของประชาชนและองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 1.2.2 เพื่อศึกษากระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขยะประเภทต่างๆ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 1.2.3 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีเว็บแอพพลิเคชัน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคและปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ 3) เพื่อประเมินการใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยเทคโนโลยีเว็บแอพพลิเคชันในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีประชากรจำนวน 402 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาตามตารางของเครจซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง 191 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั้งการดำเนินการด้วยตนเองและจากหน่วยงานราชการ แต่ยังขาดสื่อประชาสัมพันธ์ที่จะนำไปกระตุ้นหรือจูงใจในการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงได้ง่าย 2) ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดยได้มีความเห็นร่วมกันที่จะเลือกเอาการพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ โดยคณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาระบบตามหลักการวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDLC) 3) การประเมินการใช้งานระบบ พบว่า ด้านระบบตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.70, S.D. = 0.08) สำหรับด้านประโยชน์การใช้งาน พบว่า ผู้นำชุมและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น (x ̅=3.79, S.D. = 0.64) และพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถนำข้อมูลมาจัดทำรายงานได้สะดวกขึ้น (x ̅=3.71, S.D. = 0.67)
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ 1
  3. บทที่ 2
  4. บทที่ 3
  5. บทที่ 4
  6. บทที่ 5
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก1
  9. ภาคผนวก2
  10. ภาคผนวก3

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ