ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ที่เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้สื่อโปสเตอร์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
PARTICIPATORY ACTION RESEARCH TO CHANGE THE BEHAVIOR OF CONSUMING SWEET, OILY, AND SALTY FOODS THAT MAKE THE RISK OF CHRONIC DISEASES: ORGANIZING AN ENVIRONMENT THAT IS CONDUCIVE TO CHANGEING HEALTH BEHAVIORS BY USING POSTERS IN NA KOON YAI SUBDISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION, NA WA DISTRICT, NAKHON PHANOM PROVINCE

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.กีรติ ภูมิผักแว่น
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม 3.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการใช้สื่อโปสเตอร์ 3.3 เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโปสเตอร์ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ที่เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทโปสเตอร์ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเรื้อรัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลนาคูณใหญ่ จำนวน 20 คน ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 80 มีอายุเฉลี่ย 62 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 40 นอกจากนี้ร้อยละ 85 ไม่เคยมีประวัติการสูบบุหรี่ และมีเพียงร้อยละ 25 ที่มีประวัติเคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ ปัจจุบันเลิกดื่มไปแล้ว กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36 (S.D = 0.635) และมีระดับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 (S.D = 0.633) จากผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทโปสเตอร์สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้และสามารถพัฒนาสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจได้ต่อไปในอนาคต
เอกสารงานวิจัย
  1. เล่ม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ