ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Health Product Development to Generate Income for the Elderly in Nong Kae Subdistrict at Si Bun Rueang District, Nongbua Lamphu province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร. จารุพร มีทรัพย์ทอง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในการสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วยฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์ คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้น,การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการวิจัยที่มุ่งศึกษาชุมชนด้วยนักวิจัยและนักวิจัยเชิงพื้นที่ และกลุ่มอาชีพบ้านสระแก้วผลิตเครื่องจักสาน ร่วมกันทำงานกันอย่างเป็นระบบด้วยการเน้นการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา วางแผนดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผล สะท้อนถึงวิธีการเปลี่ยนสถานการณ์หรือการสร้างความสามารถของชุมชน โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง และทุกขั้นตอนมีสมาชิกของชุมชนเข้าร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้สูงอายุ,การมีส่วนร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว โดยร่วมกันในการค้นหาปัญหา ร่วมกันในการวางแผนและตัดสินใจ ร่วมกันในการดำเนินการ ร่วมกันในการรับผลประโยชน์ และ ร่วมในการประเมินผล,การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมายถึง กระบวนการค้นคว้า การคิด ออกแบบ การแก้ไข และปรับปรุง มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์จักสานที่ดีและอาจเป็นผลิตภัณฑ์จักรสานที่มีความใหม่ใน ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น ลวดลาย รูปทรง
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู และ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในการสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม การปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความพร้อมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มจักสาน หมู่ที่ 2 ซึ่งมีการรวมกลุ่มอย่างชัดเจน มีลักษณะเด่นของผู้นำกลุ่ม และสมาชิกในกลุ่มให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่ปลอดจากการใช้สารเคมี ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม PDCA ซึ่งประกอบด้วย 1) การวางแผน ในการวิเคราะห์ตนเองและการวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับโอกาสทางการตลาด 2) การฝึกปฏิบัติในการผลิต 3) การทดสอบตลาด 4) การปรับปรุง ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้เกิดประโยชน์กับคนอื่นในชุมชนในการมีผลิตภัณฑ์สุขภาพไว้จำหน่ายในชุมชน และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เน้นเอกลักษณ์ของตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำหรับการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุในชุมชน และทำให้ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถต่อยอดภูมิปัญญาด้านจักสาน จนเกิดความรักความผูกพันกับชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้บริหารเทศบาลตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ควรมีการหนุนเสริมการพัฒนากลุ่มอาชีพให้กับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมภายในชุมชน คัดสรรผู้นำกลุ่มอาชีพซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าในชุมชนประเภทต่างๆ สำหรับการเปิดเวทีการถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนอื่น ๆ ในชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก-บท

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ