ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการออกกำลังกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลปากชม อ.ปากชม จ.เลย
The Effect of the Exercise Model for Physical Fitness of the Elderly of Pak Chom Sub-district Administration Organization, Pak Chom District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์จรัสศรี ศรีโภคา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้พลองและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงอายุที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ หมายถึง ผูที่มีอายุตั้งแตอายุ 60-75 ป เพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากชม,รูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ หมายถึง การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการออกกำลังกาย 2 รูปแบบ ประกอบด้วย,การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง หมายถึง การออกกำลังกายโดยมีการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อ เน้นการหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่องระหว่างออกกำลังกาย คิดค้นโดยป้าบุญมี เครือรัตน์ ประกอบด้วย 12 ท่า โดยใช้ไม้พลองเป็นอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย,การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หมายถึง การออกกำลังกายประเภทหนึ่งในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นตัวของกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ในการวิจัยคั้งนี้ประยุกต์ใช้รูปแบบการยืดเหยียดกล้ามเนื้อพื้นฐาน ของกระทรวงสาธารณสุข (2554, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข),สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ หมายถึง สภาวะของรางกายที่อยูในสภาพที่ดีเพื่อที่จะชวยใหบุคคลสามารถทางานไดอยางมีประสิทธิภาพ ลดอัตราความเสี่ยงของปญหาทางสุขภาพที่เปนสาเหตุมาจากขาดการออกกําลังกาย สรางความสมบูรณและแข็งแรงของรางกายในการที่จะเขารวมกิจกรรมการออกกําลังกายไดอยางหลากหลาย บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายดีก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจตาง ๆ ในชีวิตประจําวัน การออกกําลังกาย การเลนกีฬา และการแกไขสถานการณตาง ๆ ไดเปนอยางดี ซึ่งประกอบดวย,ความแข็งแรงของกลามเนื้อ (Muscle strength) หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือการทํางานของกลามเนื้อที่จะทําอยางใดอยางหนึ่ง ไดสูงสุดในแตละครั้ง ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกลามเนื้อสวนลางโดยการใชแบบทดสอบยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที (30 Seconds Chair Stand) และการทดสอบความแข็งแรงของกลามเนื้อส่วนบน โดยใช้แรงบีบมือ (Hand Grip Dynamometer),ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของข้อต่อต่างๆ ของร่างกายที่เคลื่อนไหวได้เต็มช่วงของการเคลื่อนไหว ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการทดสอบความอ่อนตัวของหลัง สะโพก และกล้ามเนื้อขาด้านหลัง โดยการใช้แบบทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach) และประเมินความอ่อนตัวของหัวไหล่ โดยใช้แบบทดสอบแตะมือด้านหลัง (Back Scratch),ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด (Cardiovascular endurance) หมายถึง ความสามารถของหัวใจและหลอดเลือดที่จะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกแรง ไปยังกล้ามเนื้อขณะทางาน ให้ทางานได้เป็นระยะเวลานาน ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด โดยการใช้แบบทดสอบ ยืนยกเข่าขึ้น-ลง 2 นาที (2 Minutes Step Test),องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition) ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นน้ำหนักตัวของร่างกายคนเรา โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นไขมัน (Fat mass) และส่วนที่ปราศจากไขมัน (Fat-free mass) ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการวัดองค์ประกอบของร่างกาย โดย การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หาค่าดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว รอบสะโพก และวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันโดยใช้เครื่อง BIA (Bioelectrical Impedance Analysis)
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากชม ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่มีอายุระหว่าง 60-75 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคอันเป็นอุปสรรคต่อการ ออกกำลังกาย จำนวน 40 คนโดยใช้รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้พลองและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยทำการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ โดยใช้ paired sample t-test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้านความอ่อนตัว ด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดและด้านองค์ประกอบของร่างกาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลของการใช้รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้พลองและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่1-5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ