ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
Tourism management model in Phu Hor Subdistrict Administrative Organization, Phu Luang District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ณศิริ ศิริพิมา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาบริบทการจัดการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 2 เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
คำสำคัญ
รูปแบบการจัดการท่องเที่ยว หมายถึง แนวทางในการวางแผนโดยตัวแทนขององค์กรชุมชนท้องถิ่นและตัวแทนของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน องค์กรในชุมชน เข้าร่วมตัดสินใจเจรจาต่อรองผลประโยชน์กับรัฐบาลได้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน โดยชุมชนจะเป็นผู้จัดการควบคุมและวางแผนพัฒนาการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยมีองค์กรของรัฐให้การสนับสนุน ,เขตองค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ หมายถึง พื้นที่เขตรับผิดชอบขององค์การบริหาร ส่วนตำบลภูหอ แบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแหล่ง เช่นวัดประจำหมู่บ้านโดยวัดนี้มีการสร้างงานประติมากรรมพญาช้างสาร นางผมหอและนางสีดาเพื่อเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และการเคารพบูชาของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเยาวชนที่มีการตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจากกล้วย รวมถึงการมีศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตร และที่สำคัญคือภูหลวงมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของป่าไม้รูปแบบต่างๆ การมีกิจกรรมการท่องเที่ยวและมีน้ำตกที่สวยงามอยู่ในพื้นที่ด้วย
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการท่องเที่ยวขององค์การบริการส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมดำเนินการพื้นที่เพื่อจัดการท่องเที่ยวและภาคีเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยว และสำนักวัฒนธรรม จังหวัดเลย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การประชุม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบการประเมินผลการดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการจัดการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลภูหอที่มีลักษณะเด่น คือ ชุมชนบ้านหนองบัวเป็นชุมชนเก่าที่มีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานราวปี 2466 ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม มีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับพญาช้างและนางผมหอม ทั้งยังมีการสร้างรูปจำลองและสถานที่สำหรับการเคารพบูชาไว้ในวัดโนนสว่าง ชุมชนมีจุดเด่นทางด้านการท่องเที่ยวหลักคือทรัพยากรธรรมชาติที่งดงาม เช่น ภูหอ และภูหลวง ชาวบ้านในชุมชนจึงนำเอาวิถีชีวิตและความเชื่อชุมชนที่มีอยู่เพื่อนำมาสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตผลิตภัณฑ์จากกล้วยออกมาเป็นแบรนด์บานาน่า แฟมิลี่ (บานาน่า สติ๊ก) โดยมีภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามามีส่วนสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมทั้งหน่วยงานจากสถาบันการศึกษา 2) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง สำหรับการจัดการท่องเที่ยวนั้น รวมถึงทิศทางของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย นั้นควรมาจากคนในชุมชน และองค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก แต่เนื่องจากระยะนี้ อบต. ยังไม่มีบทบาทชัดเจน และควรมีการจัดตั้งกลุ่มรับผิดชอบ ดูแลการท่องเที่ยวอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่มีป้ายแหล่งท่องเที่ยว ป้ายประชาสัมพันธ์ และแผ่นพับเพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยวของตำบลภูหออย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลภูหอควรให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับผิดชอบ เพื่อการวางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว คือ เน้นการพัฒนาคน พื้นที่การบริหารจัดการ และการประชาสัมพันธ์
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก-บทคัดย่อ-บท1-5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ