ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ผลการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ
Effects of exercise program with phakhawma on balance and movement in the elderly

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์กวิน บุญประโคน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนารูปแบบการออกก าลังกายด้วยผ้าขาวม้า
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ หมายถึง ผูที่มีอายุตั้งแตอายุ 60-80 ป เพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ต าบลโนนสะอาด อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวล าภู ,การออกก าลังกายด้วยผ้าขาวม้า หมายถึง การที่ร่างกาย เล่น การฝึก การกระท าใดๆ ที่ท าให้ ร่างกายหรือส่วนของร่างกายมีการเคลื่อนไหว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อความ สนุกสนานหรือเพื่อสังคม โดยใช้ผ้าขาวม้าเป็นอุปกรณ์ในการออกก าลังกาย ,สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ หมายถึง ประกอบดวย 1.ความแข็งแรงของกลามเนื้อ (Muscle strength) หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือการ ท างานของกลามเนื้อที่จะท าอยางใดอยางหนึ่ง ไดสูงสุดในแตละครั้ง ในการวิจัยครั้งนี้ ท าการทดสอบ ความแข็งแรงของกลามเนื้อสวนลางโดยการใชแบบทดสอบยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที (30 Seconds Chair Stand) และการทดสอบความแข็งแรงของกลามเนื้อส่วนบน โดยใช้แรงบีบมือ (Hand Grip Dynamometer) 2.ความอ่อนตัว (flexibility) หมายถึง ความสามารถของข้อต่อต่างๆ ของร่างกายที่เคลื่อนไหวได้ เต็มช่วงของการเคลื่อนไหว ในการวิจัยครั้งนี้ ท าการทดสอบความอ่อนตัวของหลัง สะโพก และกล้ามเนื้อ ขาด้านหลัง โดยการใช้แบบทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach) และประเมินความอ่อนตัวของ หัวไหล่ โดยใช้แบบทดสอบแตะมือด้านหลัง (Back Scratch) 3.ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด (cardiovascular endurance) หมายถึง ความสามารถของหัวใจและหลอดเลือดที่จะล าเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ ออกแรง ไปยังกล้ามเนื้อขณะทางาน ให้ทางานได้เป็นระยะเวลานาน ในการวิจัยครั้งนี้ ท าการทดสอบ
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ ประชากร คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโนนสะอาด อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี ในเขตพื้นที่ จำนวน 60 คน ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย สัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว ทดสอบการทรงตัวและทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทำการออกกำลังกายด้วยผ้า ทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสมรรถภาพทางกาย ทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ matched pair t-test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการและภายหลังการเข้าร่วมโครงการ 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันของสัดส่วนร่างกาย คือ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว สมรรถภาพทางกาย ด้านความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว (TUGT) วินาที พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่พบความต่างกันของสัดส่วนร่างกาย คือ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย รอบเอว และสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และด้านทรงตัวโดยการทดสอบยืนยกเข่าขึ้น – ลง 2 นาที แสดงให้เห็นว่าผลการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าส่งผลต่อความอ่อนตัวและการทรงตัวในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายด้วยผ้าจึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขาและข้อเท้า ยังช่วยในการพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก-บทคัดย่อ
  2. บทที่1-5
  3. theme
  4. บันทึกส่งงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ