ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการความรู้พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาล ต.นาอาน อ.เมืองเลย จ.เลย
Knowledge Management, Tourism Area, Memorial 1718, Na An Subdistrict, Mueang Loei District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาว ปัทมา ปัญญาใส
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาบริบทการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของเทศบาลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2 เพื่อจัดการความรู้พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอ เมืองเลย จังหวัดเลย
คำสำคัญ
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในพื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์ สถาน ๑๗๑๘ เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล เอกสาร และแหล่งทรัพยากร มารวบรวมให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในเขตพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงความรู้ และนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการขององค์กร ตลอดจนเป็นแนวทางใน การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1, การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว คือ บริบทการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวเขตพื้นที่การท่องเที่ยว อนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วน ร่วมระหว่างชุมชน องค์กรบริหารชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ร่วมมือระดมความคิดเห็นผ่าน การประชุมกลุ่มเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เห็นพ้องตรงกันในการนำมาพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ ท่องเที่ยว ,พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย คือ เขตพื้นที่ในการวิจัย ในการศึกษาบริบทการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวและจัดการความรู้ พื้นที่การท่องเที่ยวของเทศบาลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมใน การพัฒนาศักยภาพคน พื้นที่ วิถีชีวิตและอาชีพของคนในชุมชนภายใต้พื้นที่การปกครองขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 1
บทคัดย่อย
การศึกษาเรื่องการจัดการความรู้พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบล นาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา บริบทการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของเทศบาลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และ 2) เพื่อจัดการ ความรู้พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ขอบเขตในการศึกษาได้แก่ พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง เลย จังหวัดเลย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 65 คน ประกอบด้วย นายกเทศบาล สมาชิกเทศบาล ปลัดเทศบาล นักวิชาการท้องถิ่น ปราชญ์ ชาวบ้าน อาจารย์และนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ในการร่วมกันให้ข้อมูลและเข้าร่วมอบรมและ ประชุมระดมความคิดเห็นเชิงปฏิบัติการ ภายใต้การดำเนินกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา ได้แก่ การสัมภาษณ์ การจัดประชุม/การสนทนากลุ่ม และการบันทึกข้อมูลความรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาบริบทการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของเทศบาลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จากสถานการณ์ปัจจุบันรูปแบบการจัดการท่องเที่ยว พบว่า ในพื้นที่ยังไม่มีการบริหารจัดการการ ท่องเที่ยวที่ชัดเจน ทั้งการกำหนดแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ กลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย สถานที่ รับรองนักท่องเที่ยว เรื่องราวเพื่อจูงใจในการมาเยี่ยมชมสถานที่ ตลอดจนจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยว (Landmark) อย่างชัดเจน โดยทางสาเหตุที่ขาดความชัดเจนนี้ อาจเนื่องมากจากการขาดผู้นำด้านการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่แท้จริง ทั้งนี้ปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการท่องเที่ยว อาจเกิดจาก โครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง และยังขาดกระบวนการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ ค 2) จัดการความรู้พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง เลย จังหวัดเลย ขอบเขตในการศึกษาได้แก่ พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบลนา อาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จากสภาพปัญหาในการจัดการความรู้พื้นที่ พบว่า ในเขตพื้นที่ได้อยู่ ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลนาอาน และท่าอากาศยาน จังหวัดเลย โดยปัจจุบันสภาพโครงสร้าง ทางสังคมเปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลทำให้สถานที่ที่เคยเป็นที่ได้รับความนิยมกลับถูกสถานที่ท่องเที่ยว อื่นดึงดูดความสนใจแทน ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมจำนวนน้อย ทั้งนี้การฟื้นฟูองค์ ความรู้และการถ่ายทอดเนื้อหาเชิงประวัติศาสตร์ยังขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ ข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้พื้นที่การท่องเที่ยวอนุสรณ์สถาน 1718 เทศบาลตำบล นาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ควรมีการให้ความสำคัญแก่องค์ความรู้ของชุมชน และจัดทำ ระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เพื่อความสะดวกแก่การถ่ายทอด และการนำข้อมูลไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ ตลอดจนการสร้างพื้นที่เรียนรู้หรือกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เกิดจาก กระบวนการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการ ความรู้พื้นที่อย่างแท้จริง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก-รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ