ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง เรื่องการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้านเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุข : กรณีศึกษาเทศบาล ต.โนนทอง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
The Development of the King's Learning Management Network on Sustainable Agriculture to Promote Community Well-being, Eat Well, Be Happy: A Case Study of Non Thong Subdistrict Municipality Nong Ruea District Khon Kaen Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.ภัทราพร เกษสังข์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.เพื่อวิเคราะห์สภาพด้านการเกษตรกรรม เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 2.เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้านเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุข เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 3.เพื่อศึกษาผลการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้านเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุขในด้านความรู้ และพฤติกรรม เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่ และการประยุกต์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการจัดการเกษตรกรรมยั่งยืน,ศาสตร์พระราชา หมายถึง หลักการบริหาร และการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทั้งพระราชดำรัส โครงการพระราชดำริ หลักการทรงงาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้เป็นแนวทางการดำรงชีวิต ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวความคิดหลักในการดำเนินงานวิจัย,การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การให้ความรู้เรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างสรรค์ให้สมาชิกในชุมชน ท้องถิ่น มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักรู้ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิถีการทำเกษตรกรรมจากการพึ่งพาสารเคมีสู่การทำการเกษตรกรรมยั่งยืน,เกษตรกรรมยั่งยืน หมายถึง ระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิด ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สั่งคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ อันจะนำมาซึ่งการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร และผู้บริโภค หมุนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด
บทคัดย่อย
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพด้านการเกษตรกรรม 2) ศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้านเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุข และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาด้านเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุขในด้านความรู้ และพฤติกรรม เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรที่หมู่บ้านโนนทอง เลือกแบบเจาะจงผู้ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการการวิจัย จำนวน 6 คน กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 คน เกษตรกรที่หมู่บ้านโนนทอง จำนวน 16 คน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลโนนทอง 5 คน เครื่องมือหรือวิธีการเก็บรวมรวบข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมความคิด และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพด้านการเกษตรกรรม เทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น พบว่า เกษตรกรมีที่ดินในการทำน้อย ปัญหาน้ำเน่าเสียจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ขาดแคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคและบริโภค ภาวะเสี่ยงจากการเกษตรที่สำคัญ คือ การใช้สารเคมีในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม การทำงานในบริเวณที่มีการสูดดมสารเคมี ปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมี น้ำเสีย และเรื่องขาดแคลนน้ำ เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขทั้งสุขภาพกายและใจ ครอบครัวอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตด้วนตนเองไม่พึงพิงนายทุน ไม่เป็นหนี้ อยากให้มีการอบรมให้ความรูปเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมักจากวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ เทคนิควิธีการเพิ่มผลผลิต ต้องการผู้นำต้นแบบกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จการเกษตรยั่งยืนในพื้นที่ เป็นตัวอย่างการปฏิบัติตน มาแนะนำให้ความรู้หรือช่วยเหลือ อยากให้หน่วยงานต่าง ๆ มาติดตามเพื่อกระตุ้น แนวทางการพัฒนาเครือข่าย เริ่มต้นให้เกษตรกรเกิดความรัก เห็นคุณค่า ความสำคัญที่อยากจะทำเกษตรยั่งยืนตามศาสตร์ของพระราชา หาผู้นำเกษตรกรต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นปราชญ์อบรมให้ความรู้ การสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในการใช้สารเคมี จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรด้วยกันและ สร้างการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกษตรกรเกิดการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกษตรกรมีความขยันในการทำงาน และมีการติดตามจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเกษตรกรหรือมาให้ความรู้ใหม่ ๆ ผลการพัฒนาเครือข่ายด้านความรู้ พบว่า เกษตรกรมีความรู้ที่เกิดจากการจัดเวทีประชุมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ในการดูแลรักษาต้นไม้แต่ละชนิด การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยพืชสด การทำยาฆ่าศัตรูพืชที่มาจากวัสดุธรรมชาติ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รู้จักการคิดวิเคราะห์ในการใช่จ่าย ทำบัญชีใช้จ่ายภายในครอบครัวอย่างง่าย ส่งผลให้ภาวการณ์เป็นหนี้เริ่มลดลง สุขภาพกายและจิตที่ดี เกษตรกรมีพฤติกรรมการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้ที่มีมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกัน ถอดบทเรียนปัญหาที่พบจากการเกษตร การเกษตรปลูกพืชที่หลากหลายจะเน้นพืชที่ตนชอบ มีการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ปลูกพืชตามกำลังที่ตนสามารถบริหารจัดการได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีการใช่จ่ายอย่างประหยัด มีการคุยกันภายในครอบครัวเกี่ยวกับการใช้จ่าย มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไม่ใช้สารเคมี เกิดชุมชนเกษตรกรเอื้อเฟื้อ มีการแบ่งปันผลผลิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และชีวิตมีความสุขที่อยู่อย่างพอเพียง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. บทคัดย่อ
  4. Ab
  5. สารบัญ
  6. สารบัญภาพ
  7. บทที่1
  8. บทที่2
  9. บทที่3
  10. บทที่4
  11. บทที่5
  12. บรรณานุกรม
  13. ภาคผนวก
  14. ภาคผนวก ก
  15. ภาคผนวกองค์ความรู้
  16. ภาคผนวก ข
  17. แบบสัมภาษณ์
  18. ภาคผนวก ค
  19. รูป
  20. ประวัติ
  21. ประวัติ 2
  22. สรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ