ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรต โดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
Development of Carbohydrate Counting Education Model Using by Local Learning Media for Diabetes Mellitus Patients in Phonphang Subdistrict Municipality, Akat Am Nuai District, Sakon Nakhon Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายสุระเดช ไชยตอกเกี้ย
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3.2 เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อความรู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือด
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 ศึกษาศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อความรู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือด ในรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม (The One–Group Pretest–Posttest Design) จำนวน 39 คน เข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired sample T-Test กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้ความรู้ด้านการนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตโดยใช้สื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 1) ระบบการสร้างความรู้ 2) กลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบ ภายหลังนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ระดับพฤติกรรมการรับประทานอาหารภาพรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีพฤติกรรม 1) การชั่งหรือตวงข้าวก่อนรับประทาน 2) การรับประทานผลไม้จนอิ่ม 3) การนับหน่วยคาร์โบไฮเดรตในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ 4) การจำกัดปริมาณอาหารจำพวกข้าว แป้ง 5) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดีขึ้นอย่างชัดเจน และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้ความรู้ อยู่ในระดับสูง จากผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. บทที่1
  6. บทที่2
  7. บทที่3
  8. บทที่4
  9. บทที่5
  10. เอกสารอ้างอิง
  11. ภาคผนวก ก
  12. ภาคผนวก ข คู่มือ
  13. ภาคผนวก ข ส่วนเนื้อหาคู่มือ
  14. ภาคผนวก ค
  15. ภาคผนวก ง
  16. ภาคผนวก จ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ