ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างคุณค่าให้กับขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
Creating Value for Waste by Participating the Community in Suan Mon Sub-District Administrative Organization Mancha Khiri District Khon Kaen Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ณิชชาอร ศิริสงค์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา และแนวทางในการสร้างคุณค่าให้กับขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การ บริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 3. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างคุณค่าให้กับขยะในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
โครงการการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา และแนวทางในการสร้างคุณค่าให้กับขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน เพื่อศึกษาการบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน และ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ในการศึกษาเขตพื้นที่บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนบุคคล แบบทดสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติ การจัดการขยะมูลฝอยในชีวิตประจำวันของประชาชน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแกไข้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขยะในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัยพบว่าปริมาณขยะสะสมและมีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกหลักวิชาการแต่มีการขัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำไปไปใช้ประโยชน์ และในส่วนของงานบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลมีปัญหาเกี่ยวกับ จำนวนสถานที่กำจัดขยะไม่เพียงต่อพอต่อการการปริมาณการขนขยะมูลฝอย แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะการระดมการมีส่วนร่วมจากผู้ที่รับส่วนได้ส่วนเสีย ได้ระดมความร่วมมือจาก กลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย ในการเททิ้งนั้นยังคงร่วมขยะที่มีมูลค่ากับเศษอาหารรวมกัน แม้ว่า หน่วยงานทางภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนหม่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะการแปรสภาพขยะให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ในการดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มการนำขยะมาสร้างเป็นพลังงานทดแทนหรือ สร้างสิ่งของที่มีมูลค่ายังคงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการสร้างแรงกระตุ้นในขั้นพื้นฐานมีแนวโน้มเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการกองทุนขยะชุมชนเพื่อดำเนินการคัดแยกจัดซื้อขยะที่มีมูลค่าเพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูป การบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นการไม่เสียเปล่าของขยะเปียกที่เป็นผลผลิตจากภาคครัวเรือนโดยการนำมาสร้างคุณค่าด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพตามขั้นตอนกระบวนการที่ประชาชนได้เรียนรู้ เพื่อจะนำมาใช้ในภาคเกษตรกรรม อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช่จ่ายในการจัดเก็บขยะภาคครัวเรือน ชุมชน การวัดระดับความมีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าให้กับขยะมูลฝอยได้ใช้โครงการที่ทำอยู่ชุมชนเป็นตัวชี้วัดหนึ่งเพื่อให้เห็นการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้แบ่งการมีส่วนร่วมในโครงการอบรมทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือนและการบริหารจัดการขยะอันตรายจากชุมชน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค ประชาชนในเขตพื้นที่บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนหม่อนไม่ได้ เข้าร่วมโครงการร้อยละ 26.7 มีส่วนร่วมน้อย ร้อยละ 43.3 และมีส่วนร่วมมาก ร้อยละ 28.8 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวม ( ( x̄) = 1.014) โดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการมากที่สุด ( ( x̄) =1.324) ซึ่งการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการประชาชนได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน โดยสามารถช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยจากการนำขยะมาน้ำหมักชีวภาพ ดังนั้นการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการจึงเป็นส่วนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยตรง รองลงมาคือประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการ( ( x̄) =1.044) ซึ่งเป็นขั้นตอนของการค้นหาปัญหารวมถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ที่เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนการมีส่วนร่วมในการติดตามโครงการ ( ( x̄) =0.887) เป็นส่วนที่ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยที่สุดเพราะการติดตามโครงการยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ เพราะโครงการนี้อยู่ภายใต้โครงการกองทุนขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนหม่อนซึ่งมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมในการวางแผนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมน้อยที่สุด ( ( x̄) =0.802) ทั้งนี้เพราะกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นสมาชิกโดยทั่วไป ซึ่งขั้นตอนในการวางแผนส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในบุคคลเฉพาะกลุ่ม
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่5
  2. บทที่1
  3. บทที่2
  4. บทที่3
  5. บทที่4
  6. ปก
  7. สารบัญ
  8. ภาคผนวก
  9. ภาคผนวก ข
  10. ภาคผนวก ค
  11. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ