ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ เพื่อสุขภาพ เทศบาล ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย
The development of beverage, vegetables, herbs and fruit drinks for health in Tambon Na Na Subdistrict, Mueang District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลียง สุพิมพ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ ในเขตเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย 2. เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ สำหรับบริโภคของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย 3. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมของเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพรและผลไม้ สำหรับบริโภคของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
คำสำคัญ
ผัก สมุนไพร และผลไม้ หมายถึง ผัก สมุนไพร และผลไม้ ที่จำหน่ายหรือปลูกในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้แก่ ย่านาง ผักคาวหรือพลูคาว หญ้าปักกิ่ง สะระแหน่ โหระพา คะน้า ตำลึง หญ้าหวาน อัญชัน จิงจูฉ่าย ใบบัวบก แอปเปิลแดง แตงโม สับปะรด มะนาว แครอท ลูกหม่อน และ ฝรั่ง เป็นต้น,เครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้เพื่อสุขภาพ หมายถึง เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบเป็นผัก สมุนไพร และผลไม้ จำหน่ายหรือปลูกในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้แก่ ย่านาง ผักคาวหรือพลูคาว หญ้าปักกิ่ง สะระแหน่ โหระพา คะน้า ตำลึง หญ้าหวาน อัญชัน จิงจูฉ่าย ใบบัวบก แอปเปิลแดง แตงโม สับปะรด มะนาว แครอท ลูกหม่อน และ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของประชาชนในเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย,การพัฒนาเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ หมายถึง การพัฒนาสูตรของเครื่องดื่มน้ำผัก สมุนไพร และผลไม้ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของประชาชนในเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย,ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หมายถึง ฤทธิ์ของสารที่ทำหน้าที่ทำลายหรือกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเพื่อป้องกันสารชีวโมเลกุลที่สำคัญในร่างกาย เช่น ไขมัน ดีเอ็นเอ และเอนไซม์ที่สำคัญ หรือป้องกันโครงสร้างของเซลล์ไม่ให้เสียหาย (สมาคมเพื่อการวิจัยอนุมูลอิสระไทย (สวอ.),คุณภาพทางประสาทสัมผัส หมายถึง คุณภาพของผลิตภัณฑ์และอาหาร โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส การสัมผัส และการได้ยิน ในการวัด แล้ววิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้หลักการทางสถิติเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น ใช้วัดความแตกต่างหรือความเหมือนของผลิตภัณฑ์ ใช้วัดคุณภาพหรือปริมาณของลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อย
การวิจัยครั งนี มีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน ้าผัก สมุนไพร และผลไม้ ในเขต เทศบาลต้าบลนาอ้อ อ้าเภอเมือง จังหวัดเลย และ 2) พัฒนาเครื่องดื่มน ้าผัก สมุนไพร และผลไม้เพื่อสุขภาพ ในการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน ้าผัก สมุนไพร และผลไม้ และเครื่องดื่มน ้าผัก สมุนไพร และผลไม้เพื่อ สุขภาพ ด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay และการประเมินคุณภาพทางประสาท สัมผัสของเครื่องดื่มน ้าผัก สมุนไพร และผลไม้เพื่อสุขภาพ โดยการให้คะแนนความชอบ 5 ระดับต่อคุณภาพ ด้าน สี กลิ่น รสชาติ เนื อสัมผัส และความชอบโดยรวม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ สี กลิ่น รส เนื อสัมผัส และความชอบโดยรวม ใช้สถิติ One-Way ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Fisher's least significant difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า ผัก สมุนไพร และผลไม้ชนิด ทั ง 18 ชนิด มีค่าร้อยละในการต้านอนุมูล อิสระ DPPH อยู่ระหว่าง 21.54 – 58.24 µmol ascorbic acid equivalent/ml โดย มะนาวมีฤทธิ์ในการ ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด (58.24 µmol ascorbic acid equivalent/ml) เครื่องดื่มน ้าผัก สมุนไพร และ ผลไม้เพื่อสุขภาพ ทั ง 6 สูตร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH อยู่ระหว่าง 15.72 – 57.10 µmol ascorbic acid equivalent/ml โดยสูตรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ สูตร 4 (57.10 µmol ascorbic acid equivalent/ml) รองลงมา คือ สูตร 3 (40.77 µmol ascorbic acid equivalent/ml) เมื่อเปรียบเทียบ ความชอบต่อคุณภาพด้าน สี กลิ่น รสชาติ เนื อสัมผัส และความชอบโดยรวม พบว่า ประชาชนมีความชอบใน คุณภาพด้านกลิ่นและรสชาติของทั ง 6 สูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่เมื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของคุณภาพด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื อสัมผัส และความชอบโดยรวม พบว่า คุณภาพด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื อสัมผัส และความชอบโดยรวม สูตร 1 และ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) กับสูตร 3 และ 4 โดยสูตร 3 และ 4 เป็นสูตรที่ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด
เอกสารงานวิจัย
  1. กิตติกรรมประกาศ
  2. บทคัดย่อ
  3. บทคัดย่อ อังกิต
  4. บทที่1
  5. บทที่2
  6. บทที่3
  7. บทที่4
  8. บทที่5
  9. บรรรณานุกรม
  10. ปกนอก
  11. ปกใน
  12. ประวัตินักวิจัย
  13. ภาคผนวก
  14. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ