ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างคุณค่าให้ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมสร้างรายได้ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ต.ทุ่งชมพู อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
Value creation for the elderly by income generating activities based on the creative economy concept. Case study in Thung Chomphu Subdistrict,Phu Wiang District, Khon Kaen Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.วรินทร์ธร โตพันธ์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 3. เพื่อหาแนวทางในการสร้างคุณค่าด้วยกิจกรรมสร้างรายได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ให้กลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิงใน พื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ,การสร้างคุณค่า หมายถึง การสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุจาก ความรู้สึกที่บุคคลรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า นำไปสู่ ความเชื่อมั่นในตนเอง และการยอมรับนับถือ ตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ มี ความสำคัญ และแสดงออกมาในรูปแบบของ ทัศนคติในแง่บวกที่มีต่อตนเอง ,การมีส่วนร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรม เพื่อสร้างคุณค่าให้ตนเอง ซึ่งลำดับชั้นที่สำคัญ 5 ประการคือ การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ การมี ส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการ รับผลประโยชน์ และ การมีส่วนร่วมในการ ประเมินผล
บทคัดย่อย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัด ขอนแก่น 3) เพื่อหาแนวทางในการสร้างคุณค่าด้วยกิจกรรมสร้างรายได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ให้กลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยมี กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุที่มีความสนใจที่จะสร้างรายได้จำนวนไม่ต่ำกว่า 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบ สังเกต และ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ การวิเคราะห์เนื้อหา การ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ SWOT ผลการวิจัยพบว่า 1) ตำบลทุ่งชมพูมีจำนวนประชากร 4,712 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีการรวมกลุ่มการผลิตเป็นอาชีพเสริมในทุกหมู่บ้านตามความถนัดและ ความเชี่ยวชาญ 2) ตำบลทุ่งชมพูมีผู้สูงอายุจำนวน 430 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และอาศัยในหมู่ที่ 6 บ้านหนองพลวง โดยผู้สูงอายุจะเป็นเพียงสมาชิกในกลุ่มการผลิตมิได้มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่ ชัดเจน 3) แนวทางในการสร้างคุณค่าด้วยกิจกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุได้แก่ การจัก สาน ซึ่งคัดเลือกจากความเหมาะสมตามอายุ และความเชี่ยวชาญ บนพื้นฐานการใช้ทุนในชุมชนเพื่อ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาลวดลายที่แตกต่างจากเดิม สร้างอัตลักษณ์ให้เกิดขึ้น แก่ผลิตภัณฑ์ในชุมชน และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังนำไปสู่การ จัดทำแผนนโยบายสาธารณะด้านการบริหารนโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมี ส่วนร่วม ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับแนวคิด 3T ของริชาร์ด ฟรอริดา อันได้แก่การใช้ 1. เทคโนโลยี 2.ความสามารถ และ 3.การเปิดกว้าง รวมถึงยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ จรัญญา วงษ์ พรหมและคณะ (2560) ซึ่งกล่าวว่าแนวทางการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประสบ ความสำเร็จจะต้องประกอบไปเป็นตามแบบจำลองเข็มหมุดหรือ PINS Mode ซึ่งประกอบไปด้วยด้วย ง การมีส่วนร่วม (Participation :P) ประโยชน์ที่ได้รับ (Interest :I ) การสร้างเครือข่าย (Network :N) และการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน (Support :S )
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก-รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ