ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช องค์การบริหารส่วน ต.คำโคกสูง อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี
Community capacity development in reducing risk behavior from using pesticides Kham Khok Sung Subdistrict Administration Organization Wang Sam Mo District Udon Thani Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรยา วิฑูธีรศานต์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้สารเคมีในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 2 เพื่อตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรในชุมชน 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัด
คำสำคัญ
ศักยภาพชุมชน หมายถึง ความรู้สามารถของคนในชุมชนที่ร่วมกันลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช,พฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพ,สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมายถึงสารเคมีที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นหรือได้จากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ควบคุมและทำลายศัตรูพืช ได้แก่ โรคพืช แมลงและวัชพืช
บทคัดย่อย
วิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช องค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เป็นวิจัยเชิงคุณภาพและสำรวจ แบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้สารเคมีในพื้นที่ การตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร และอบรมแกนนำให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของตนเอง สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การเกษตรหลักของชุมชนคือการปลูกอ้อย มันสำปะหลังและ ทำนา เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยรับการอบรมในเรื่องการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสารเคมีทั้ง ในระหว่างการฉีดยาและภายหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานเบื้องต้นในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.66 การตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรพบว่า อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ73.62 และจากการจัดการอบรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของกลุ่มตัวอย่าง มีจุดแข็งในด้านโครงสร้างหน่วยงานบุคลากรและแกนนำชุมชนสนับสนุน ขณะที่จุดอ่อน อุปสรรค มาจากเกษตรกรขาดความรู้และเงินทุน และโอกาสพัฒนามาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลเข้าถึงบุคคลได้ง่ายและรวดเร็ว
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. สารบัญ
  3. บทที่1
  4. บทที่2
  5. บทที่3
  6. บทที่4
  7. บทที่5
  8. บรรณานุกรม
  9. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ