ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ลดหวาน มัน เค็ม) พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อ.สังคม จ.หนองคาย
Changing Food Consumption Behavior Among High Risk Groups of Non Communicable Diseases (reducing the sugary, fatty and salty foods) at Kangkai Subdistrict Administrative Organization, Sungkhom District, Nongkhai Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.มธุรส ชลามาตย์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1ความรู้เรื่องโรคไม่ติดเรื้อรังและการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1.2.2 การรับรู้ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้อันตรายของ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
คำสำคัญ
1.5.1โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายถึง โรคที่ไม่ติดต่อจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติด เชื้อ อาการของโรค เกิดช้าๆ และค่อยๆสะสมอย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นแล้ว มักจะเกิดอาการเรื้อรัง เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่เหมาะสม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคอ้วนลงพุง ,1.5.2 พฤติกรรมบริโภค หมายถึง การเลือกรับประทานอาหารประเภทต่างๆ วิธีปรุงอาหาร วิธีการบริโภคอาหาร รูปแบบการปรุงอาหาร ความถึ่ในการบริโภค ในการศึกษานี้ประเมินจากแบบสอบถาม และ แบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภค,1.5.3 ภาวะโภชนาการ หมายถึง สภาวะทางสุขภาพของบุคคลมีผลเนื่องมาจากการรับ ประทาน อาหาร การย่อยอาหาร การดูดซึม การขนส่ง การสะสม และผลของการเผาผลาญสารอาหาร ในการศึกษานี้ประเมินภาวะโภชนาการจากน้ำหนัก เส้นรอบเอว และ ค่าดัชนีมวลกาย,1.5.4 ภาวะสุขภาพ หมายถึง ความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม ในการศึกษานี้ ประเมินเฉพาะด้านร่างกาย โดยประเมินจากระดับความดันโลหิต,1.5.5 ความรู้ หมายถึง ข้อมูลที่ถูกต้องที่บุคคลหนึ่ง ได้รับมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ สั่งสมมา จนเกิดเป็นความเข้าใจ และนำพาไปสู่พื้นฐานของ ความคิด การวิเคราะห์ ตลอดจนการตัดสินใจเลือกกระทำการใดในการดำรงชีวิต,1.5.6 การรับรู้ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งในการศึกษานี้ศึกษาการรับรู้ 4 ด้าน ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
บทคัดย่อย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการ เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีผลต่อ 1.ความรู้เรื่องโรคไม่ติดเรื้อรังและการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.การรับรู้ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้อันตรายของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3. พฤติกรรมการบริโภค 4. ภาวะโภชนาการ และ 5. ภาวะสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อ.สังคม จังหวัดหนองคาย อายุ 35 ปี ขึ้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมให้ความรู้ แบบสอบถาม แบบบันทึกการตรวจภาวะโภชนาการ และการตรวจร่างกาย แบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t- test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกาบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 8 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายมี 1. ระดับความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดยกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.3 2. การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค รับรู้ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติ (P>0.05) 3. การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) 4. การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) 5. พฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ลดลง การบริโภคอาหารกลุ่มผัก และ ผลไม้รส ไม่หวานจัดเพิ่มขึ้น และมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 6. น้ำหนักลดลง และ ค่าดัชนีมวลกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ส่วนเส้น รอบเอวลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P>0.05) โดยกลุ่มเป้าหมายมีน้ำหนักลดลง ร้อยละ 56.70 ค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ 60.0 และเส้นรอบเอวลดลง ร้อยละ 43.30 7. ระดับความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่โดยรวมกลุ่มเป้าหมายมีความดันโลหิตลดลงร้อยละ 40.0
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ