ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การประเมินการปนเปื้อนโลหะหนักในแปลงผลิตผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อบต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
The study of assessment of heavy metal contamination in the production of organic vegetables: A case study of Phanphraow subdistrict administrative organization, Si Chiang-mai district, Nong khai province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นิธิภัทร บุญปก
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายจำนวน 6 ชนิด คือ สารหนู (As), โครเมียม (Cr), ทองแดง (Cu), สังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb), และแคดเมียม (Cd) 2. เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีทั้ง 6 ชนิด ชนิด คือ สารหนู (As), โครเมียม (Cr), ทองแดง (Cu), สังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb), และแคดเมียม (Cd) เกินค่ามาตฐานหรือไม่
คำสำคัญ
สารปนเปื้อนโลหะหนัก ผักปลอดสาร ผักอินทรีย์
บทคัดย่อย
การศึกษาการประเมินการปนเปื้อนโลหะหนักในแปลงผลิตผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อบต.พานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากการลงพื้นที่สำรวจ และสอบถาม คณะผู้บริหาร และตัวแทนแกนนำชุมชน เกี่ยวกับการทำการเกษตรของชุมชนในเขตพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ การทำนา และทำประมงน้ำจืด ซึ่งหลังฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวในนาส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะปลูกผักส่งขายตลาด การปลูกผักจำนวนมาก ๆ ทำให้เกษตรกรหันมาใช้สารเคมีส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในชุมชน เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปลูกและผู้บริโภค เกษตรกรมองข้ามความปลอดภัยของตนเองและผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านในเขตตำบลพานพร้าวยังไม่ได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องการทำการเกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์เท่าที่ควร พร้อมทั้งราคาของผักปลอดสาร และผักอินทรีย์มีราคาที่แพงกว่าพืชผักที่ปลูกโดยใช้สารเคมี จึงทำให้ผู้บริโภคยอมซื้อผักในท้องตลาดที่มีราคาถูกกว่าผักปลอดสาร และผักอินทรีย์ ทั้งที่มี การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การเกษตรพอเพียง และศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่ในหลายหมู่บ้าน นอกจากนี้การตรวจสอบหาค่าปริมาณและวิเคราะห์สารปนเปื้อนโลหะหนักในผลผลิตทางการเกษตร 4 ชนิด ได้แก่ คะน้า ผักกาดหอม ผักชี และต้นหอม พบปริมาณสารปนเปื้อนโลหะหนักในกลุ่มสารหนูเกินค่ามาตรฐาน และยังพบปริมาณสารปนเปื้อนโลหะหนักในดินปลูกผักเป็นสารในกลุ่มแมงกานีส โครเมียม สารหนู ทองแดง และสังกะสีเกินค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ปริมาณสารปนเปื้อนที่พบในน้ำผิวดินเป็นสารในกลุ่มแมงกานีส โครเมียม สารหนู ทองแดง และสังกะสีมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งสารปนเปื้อนโลหะหนักเหล่านี้มีผลตกค้างในผลผลิต ในดินปลูก และตกค้างในน้ำที่ใช้บริโภคอุปโภค ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภคโดยตรง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปกหน้า
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. สารบัญ
  4. บทที่1
  5. บทที่2
  6. บทที่3
  7. บทที่4
  8. บทที่5
  9. บรรณานุกรม
  10. ภาคผนวก
  11. บันทึก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ