ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย
Waste management of people in Pak Chom Subdistrict Administrative Organization, Pak Chom District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางมณีรัตน์ สุตันตังใจ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลปากชม 1.2.2 เพื่อศึกษาถึงระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการขยะของบ้านคกไผ่ 1.2.3 เพื่อพัฒนารูปแบบระบบการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวและชุมชนในการบริหารจัดการขยะมูล ฝอยของบ้านคกไผ่
คำสำคัญ
การจัดการขยะชุมชน การมีส่วนร่วม การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านคกไผ่ อบต.ปากชม
บทคัดย่อย
การศึกษาแนวทางในการจัดการขยะจากการท่องเที่ยว ขององค์กรท้องถิ่นส่วนต าบลปากชม มี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้และความเข้าใจของประชาชนในการจัดการขยะชุมชน และศึกษาความ คิดเห็นของประชาชนต่อรูปแบบการจัดการขยะจากการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ชุมชนบ้านคกไผ่ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจอะจง (Purposive sampling) จ านวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามปลายปิด และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลค าถามปลายปิดโดย การใช้โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS เพื่อแจกแจง ความถี่ และร้อยละ ข้อมูลที่ได้จากค าถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อจัดหมวดหมู่ความ คิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องขยะอยู่ในระดับปานกลาง มาก และมากที่สุด คิด เป็นร้อยละ 50 20 และ16.7 ตามล าดับ แหล่งความรู้ส่วนใหญ่มาจากผู้น าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 73 ใน ด้านการประเมินความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะชุมชน ประชาชนตอบถูก 17 ข้อ จากทั้งหมด 18 ข้อถือ ว่าระดับความรู้ของประชาชนผ่านกว่าร้อยละ 94 ในด้านความต้องการและการมีส่วนร่วมในการจัดการ ขยะจากการท่องเที่ยวริมโขงพบว่า ประชาชนเข้าใจถึงศักยภาพและต้นทุนในการท่องเที่ยวเดิมอยู่แล้ว และได้มีการคาดไว้ว่าการเปิดจุดและเส้นทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นจากเดิมจะก่อให้เกิดปัญหาในการ จัดการขยะ จึงมีความสนใจในการรณรงค์การใช้บรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ และให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม ในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อช่วยลดปริมาณขยะ ผลการวัดระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะของ ประชาชนที่มีอัตราการผ่านในระดับที่สูง มีความสอดคล้องกับการประเมินระดับความรู้ของตนเองของ ประชาชน บทบาทของผู้น าชุมชนในการเผยแพร่ความรู้ และความต้องการของชุมชนในการให้ นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะ สามารถน าไปเสนอเป็นแผนงานการด าเนินกิจกรรมด้านการ จัดการขยะของอบต.ปากชมได้
เอกสารงานวิจัย
  1. ปกและสารบัญ
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. บทคัดย่อ
  4. บทที่1
  5. บทที่2
  6. บทที่3
  7. บทที่4
  8. บทที่5
  9. บรรณานุกรม
  10. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ