ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการขยะมูลฝอย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยวิธีการคัดแยก ขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือน ในพื้นที่เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
Solid waste management By the participation of the community through separation methods Organic waste at the household level In the area of Erawan Subdistrict Municipality, Erawan District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วัลลภ ทาทอง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย 1.2.2 เพื่อจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยวิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือน ในพื้นที่เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
คำสำคัญ
การจัดการ, ขยะมูลฝอย, การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยวิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนในพื้นที่ เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย โดยเทศบาลตำบลเอราวัณ เป็นพื้นที่นำร่องที่มีความสนใจ (เป็นการเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง) ทำการศึกษาด้วยวิธีการลงพื้นที่ 16 หมู่บ้าน ในเทศบาลตำบลเอราวัณ เพื่อสำรวจสภาพปัญหา สาเหตุ การวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบขยะมูลฝอย การจัดการมูลฝอยประเภทขยะเปียกของชุมชนในพื้นที่ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของหมู่บ้านจะมีปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนและในระดับชุมชน ตั้งแต่การคัดแยกประเภทขยะของคนในชุมชนที่ไม่มีการคัดแยกก่อนนำไปทิ้งโดยเฉพาะขยะเปียกที่นำมาทิ้งรวมกับขยะอื่น และการทิ้งขยะไม่ถูกประเภทของถังขยะ สาเหตุของปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นแหล่านี้มาจาก ชาวบ้านบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ การคัดแยกประเภทของขยะ ขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน รวมไปถึงขาดแนวทางในการจัดการขยะอย่างมีแบบแผนหรือมีกฎระเบียบข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านหัวฝาย เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีปริมาณขยะทั้งหมด 45.30 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะเปียก 25.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 55.18 ของขยะทั้งหมด รองลงมา คือ ขยะแห้ง 19.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 41.94 ของขยะทั้งหมด, ขยะรีไซเคิล 1.30 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 2.86 ของขยะทั้งหมด การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านโคกสวรรค์ เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีปริมาณขยะทั้งหมด 42 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะเปียก 24.40 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 58.09 ของขยะทั้งหมด รองลงมา คือ ขยะแห้ง 13.40 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 31.90 ของขยะทั้งหมด, ขยะรีไซเคิล 4.2 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 10 ของขยะทั้งหมด การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านโป่งศรีโทน เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีปริมาณขยะทั้งหมด 75 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะเปียก 52.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 69.33 ของขยะทั้งหมด รองลงมา คือ ขยะแห้ง 22.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 29.33 ของขยะทั้งหมด, ขยะรีไซเคิล 1.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 1.33 ของขยะทั้งหมด การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านพรประเสริฐ เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีปริมาณขยะทั้งหมด 23 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด ขยะเปียก 17.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 73.91 ของขยะทั้งหมด คือ รองลงมา คือ ขยะแห้ง 6.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 26.08 ของขยะทั้งหมด การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านเหล่าใหญ่ เทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีปริมาณขยะทั้งหมด 36 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะเปียก 24.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 66.66 ของขยะทั้งหมด รองลงมา คือ ขยะแห้ง 9.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 25.00 ของขยะทั้งหมด, ขยะรีไซเคิล 2.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 5.55 ของขยะทั้งหมด, ขยะอันตราย 1.00 กิโลกรัม การลงพื้นที่สำรวจชนิดปริมาณของขยะมูลฝอยพื้นที่หมู่ที่ 12 บ้านทรัพย์เจริญเทศบาลตำบลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย มีปริมาณขยะทั้งหมด 43.50 กิโลกรัม ปริมาณขยะที่มีมากที่สุด ขยะเปียก 29.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 67.81 ของขยะทั้งหมด คือ รองลงมา คือ ขยะแห้ง 10.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 24.13 ของขยะทั้งหมด, ขยะรีไซเคิล 3.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 8.04 ของขยะทั้งหมด
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. สารบัญ
  4. บทที่1
  5. บทที่2
  6. บทที่3
  7. บทที่4
  8. บทที่5
  9. บรรณานุกรม
  10. ภาคผนวก
  11. ประวัตินักวิจัย
  12. กิติกรรมประกาศ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ