ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ศึกษาสถานภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Study the status and practices of waste management in order to add value to waste by Community Participation in Ban Lan Subdistrict Administrative Organization Area, Ban Phai District     Khon Kaen Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ณิชชาอร ศิริสงค์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาสถานภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย การพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย การมีจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอย 1.2.2 เพื่อประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 1.2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้กระเป๋าสานจากซองกาแฟขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
จัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วม การสร้างมูลค่าเพิ่ม
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่องศึกษาสถานภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสานมีการศึกษาในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้เพื่อศึกษาสถานภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย การพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย การมีจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยและเพื่อประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้กระเป๋าสานจากซองกาแฟขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น พื้นที่การศึกษา16 หมู่บ้านในเขตตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มตัวอย่าง 383 คน ผลการศึกษาพบว่า สถานภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยเป็นการสร้างแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ของประชาชนทั้งหมดเพื่อลดขยะมูลฝอยที่เป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยมีความพยายามในการจัดการโดยการกระตุ้นเตือนประชาชน ที่อยู่ในเขตบริการเกี่ยวกับการจัดการขยะ การแยกขยะ การสร้างประโยชน์จากขยะ และการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยมีกระบวนการจัดการขยะในครัวเรือนโดย คัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง แนวทางในการจัดการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจถึงการจัดการขยะ แต่ไม่สามารถทำตามกระบวนการ การมีจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยจัดโครงการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยโครงการการส่งเสริมความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน กิจกรรมหมู่บ้านสะอาด การประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยความพึงพอใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยค่อนข้างพึงพอใจต่อการดำเนินงานบริหารจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน ในกิจกรรมที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุดคือการขนย้ายขยะไปกำจัด ไม่เกิดปัญหาหกหล่นเลอะเทอะในชุมชน(x̄) 3.42 S.D.(0.898)และระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ความร่วมมือของประชาชนในการจัดการขยะของชุมชน(x̄) 3.22 S.D.(0.963) ความพึงพอใจของผู้ใช้กระเป๋าสานจากซองกาแฟขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง (xˉ= 3.27 S.D=0.50)
เอกสารงานวิจัย
  1. บทคัดย่อ
  2. บทที่5
  3. บทที่1
  4. บทที่2
  5. บทที่3
  6. บรรณานุกรม
  7. บทที่4
  8. ภาคผนวก ก
  9. ภาคผนวก ข
  10. หน้าปกและสารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ