ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย แบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตาบลหนองล่อง จังหวัดลำพูน
Development information data system and Participation in Solid Waste management service in tumbon Nonglong District, Lamphun province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์กิติวัฒน์ กิติบุตร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของท้องถิ่น 2. สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะของของประชาชนในเขตเทศบาลต้าบลหนองล่อง อ้าเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดล้าพูน 3. เพื่อให้เกิดความตระหนักและสร้างจิตส้านึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ
ระบบจัดเก็บข้อมูล,ประชาชน ,การมีส่วนร่วม ,การจัดการขยะมูลฝอย ,ขยะมูลฝอย,การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตาบลหนองล่อง จังหวัดลาพูน” ผู้ศึกษาได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview)จากตัวแทนชุมชนทั้ง 9 หมู่บ้าน ตัวแทนจากเทศบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกศึกษา และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจานวน 400 ครัวเรือนจาก 9 ชุมชนในเขตเทศบาลตาบลหนองล่อง เมื่อได้ข้อมูลจากส่วนต่างๆจึงนามาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์ทางสถิติ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของท้องถิ่น รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะของของประชาชนในเขตเทศบาลตาบลหนองล่องอาเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลาพูน ตลอดจนให้เกิดความตระหนักและสร้างจิตสานึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในการวิจัยครั้งนี้คือครัวเรือนประชาชน ตาบลหนองล่อง อาเภอเวียงหนองล่อง จานวน 2,343 ครัวเรือน จาก 9 หมู่บ้าน ใช้วิธีการคานวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของประชากร ตามตารางของยามาเน่ ได้จานวน 400 คน โดยกาหนดให้หมู่บ้านละ 45 คน หลังจากนั้นจะสุ่มตัวอย่างครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้านโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) โดยการสลากชื่อครัวเรือนแต่ละหลังแล้วจับสลากสุ่มครัวเรือนมาตามจานวนที่กาหนด จากนั้นลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากครัวเรือนที่ถูกสุ่มโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนข้อมูลที่เป็นการสัมภาษณ์จะใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 23 คนได้แก่ นายกเทศมนตรีตาบลหนองล่อง รองนายกเทศมนตรีตาบลหนองล่อง ปลัดเทศบาลตาบลหนองล่อง นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเจ้าพนักงานสาธารณสุข รวมจานวน 5 คน ผู้นาและแกนนาชุมชน หรือผู้ปฏิบัติงานในการจัดการขยะมูลฝอยและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนๆละ 2 คนรวม 18 คน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเทศบาลตาบลหนองล่อง เกิดจากการพึ่งพาตนเองของชุมชน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและการพัฒนาโดยให้ชุมชนเป็นผู้ดาเนินการจัดการมูลฝอยด้วยตนเอง เริ่มจากการคัดแยกมูลฝอยในครัวเรือน ซึ่งแต่ละชุมชนจะดาเนินการในเรื่องของการคัดแยก การจัดเก็บ การรวบรวม การจาหน่ายมูลฝอยรีไซเคิล การบริหารรายได้จากการจาหน่ายมูลฝอย การกาหนดระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยของชุมชน รวมถึงเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวมูลฝอย ในฐานะที่ชุมชนเป็นผู้ที่มีความเข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุม การกาหนดแผน นโยบายที่เป็นประโยชน์ร่วมกับเทศบาล ทาให้ชุมชนมีแนวทางในการบริหารจัดการมูลฝอยของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหามูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน เกิดเป็นชุมชนน่าอยู่ จากการดาเนินงานดังกล่าวส่งผลให้ชุมชนเกิดความร่วมมือในกิจกรรมด้านต่างๆ ตามมา โดยสมาชิกเทศบาลตาบล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นาชุมชนเจ้าและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะมีฐานะเป็นวิทยากรชุมชนในการขยายผลความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักซึ่งได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน จากการที่ผู้วิจัยได้มีโอกาสในการลงพื้นที่และการสัมภาษณ์ ทาให้ได้เรียนรู้ถึงศักยภาพและการพัฒนาการของชุมชนในเทศบาลหนองล่องทั้ง 9 หมู่บ้าน ทาให้เกิดความรู้ ในฐานะที่เป็นชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการขยะของจังหวัดลาพูน ตลอดจนความเข้าใจต่อการกระบวนการในการจัดการมูลฝอยในชุมชนซึ่งเมื่อพิจารณาการดาเนินงานของชุมชนเทศบาลหนองล่อง สามารถจัดการมูลฝอยได้ประสบความสาเร็จได้ในระดับหนึ่ง ทาให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น เนื่องจากการจัดการขยะในครัวเรือนเป็นสาคัญ และนโยบายของเทศบาลที่ไม่ได้มีรถเก็บขยะ ทาให้ประชาชนตระหนักถึงความสาคัญของสภาพแวดล้อมดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจาวัน ลดการใช้พลาสติกและหันมาใช้วัสดุทดแทนที่ทาให้เกิดมลพิษน้อยลง ค่าใช้จ่ายลดลงจากการปรับเปลี่ยนค่านิยมในการบริโภค ปริมาณขยะลดลง เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและคนในชุมชนมีคุณภาพและมีแนวร่วมเพิ่มมากขึ้น ชุมชนสามารถดาเนินการจัดการแบบพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยการมีผู้นาที่เข้มแข็งและมากความสามารถซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในกระบวนการและชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถเรียนรู้และนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากประสบการณ์การทางานร่วมกันไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆได้
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. บทคัดย่อ
  4. บทคัดย่อ ENG
  5. สารบัญ
  6. สารบัญภาพ
  7. สารบัญตาราง
  8. บทความ
  9. บทที่ 1
  10. บทที่ 2
  11. บทที่ 3
  12. บทที่ 4
  13. บทที่ 5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ