ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะในชุมชน
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อวิเคราะห์และประเมินงานวิจัยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและภาคี 2) เพื่อสังเคราะห์ผลงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกับชุมชนท้องถิ่น 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านการคัดแยกขยะ 4) เพื่อสร้างนวัตกรรมกระบวนการการบริหารจัดการด้านการคัดแยกขยะ
คำสำคัญ
นวัตกรรม ,การบริหารจัดการขยะ
บทคัดย่อย
แผนงานวิจัยนวัตกรรมการบริหารจัดการขยะในชุมชน (ประเด็นการบริหารจัดการขยะต้นทาง) มีวัตถุประสงค์ตามแผนงานวิจัยดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์และประเมินงานวิจัยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและภาคี 2) เพื่อสังเคราะห์ผลงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกับชุมชนท้องถิ่น 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านการคัดแยกขยะ 4) เพื่อสร้างนวัตกรรมกระบวนการการบริหารจัดการด้านการคัดแยกขยะ ประกอบไปด้วยโครงการวิจัยย่อยทั้งหมด 28 โครงการ รูปแบบงานวิจัยทั้งหมดเป็นแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การสังเกต การจัดสนทนากลุ่ม การใช้แบบสอบถามและมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลทุกโครงการใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และบางโครงการมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณร่วมด้วย ผลการวิเคราะห์และประเมินงานวิจัยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและภาคีสรุปประเด็นที่ใช้ในการประเมินเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ประเมินโครงการวิจัยระยะต้นทาง 2) การประเมินคุณภาพงานวิจัยระหว่างทาง และ 3) การประเมินคุณภาพงานวิจัยระยะปลายทาง สำหรับผลการสังเคราะห์ผลงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกับชุมชนท้องถิ่น พบว่าความคาดหวังของโครงการวิจัยในครั้งนี้คือความคาดหวังในการแก้ไขปัญหา การสร้างระบบและกลไก การสร้างนวัตกรรมหรือต้นแบบ และความรู้ที่จะเกิดขึ้นในชุมชน นอกจากนั้นสิ่งที่นักวิจัยที่ลงมือปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมาคือการเสาะหาข้อมูลความรู้ และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปอบรมถ่ายทอด เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดประสบการณ์แบบมีส่วนร่วมระหว่างท้องถิ่น นักวิจัย และชุมชน มีการออกแบบและลงมือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นผลลัพธ์ที่ได้จาการสังเคราะห์งานวิจัยสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นองค์ความรู้ ชุดความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ได้ทั้งหมด 15 ผลงาน และผลลัพธ์การสร้างนวัตกรรมกระบวนการการบริหารจัดการด้านการคัดแยกขยะสามารถสรุปประเด็นของปัญหาได้ดังนี้ 1) ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทั้งที่เป็นขยะในพื้นที่เองและต่างพื้นที่ 2) พื้นที่ในการจัดการขยะหรือทิ้งขยะไม่เพียงพอหรือกำลังจะหมด 3) ชุมชนยังไม่มีระบบการจัดการขยะชุมชนหรือบางชุมชนมีระบบการจัดการขยะชุมชนแต่ยังไม่ได้มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 4) เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร และ 5) งบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอต่อการจัดระบบการจัดเก็บขยะภายในชุมชน จากประเด็นปัญหาทั้ง 5 ข้อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะ และการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกในชุมชน ได้เป็นรูปแบบการบริหารจัดการขยะ ต้นแบบการบริหารจัดการขยะ ผลการประเมินการบริหารจัดการขยะ คู่มือการจัดการขยะของชุมชน สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการรณรงค์ นักวิจัยในพื้นที่ รูปแบบการจัดการงานวิจัย และการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินงานส่งผลให้เกิดองค์ความรู้และกระบวนการในการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและส่งผลต่อนโยบายสาธารณะของประเทศต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ
  3. สารบัญ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บรรณานุกรม
  10. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ