ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนแบบมีส่วนร่วมให้กับเกษตรกรของตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
Occupational Promotion Guidelines for Increasing Strength of Participatory Economic Community to Farmers in Mae Tip Sub-district, Ngao District, Lampang Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.อาชวิน ใจแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน โครงสร้างของชุมชน อาชีพของประชาชน และปัญหาของการประกอบอาชีพของเกษตรกรในเขตตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2. เพื่อหาแนวทางในการสร้างอาชีพเสริมของเกษตรกรในชุมชนแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ
การส่งเสริมอาชีพ, เพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชน, แบบมีส่วนร่วม, กลุ่มเกษตรกร
บทคัดย่อย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน โครงสร้างของชุมชน อาชีพของประชาชน และปัญหาการของการประกอบอาชีพของเกษตรกรในเขตตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง (2) เพื่อหาแนวทางในการสร้างอาชีพเสริมของเกษตรกรในชุมชนแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรจำนวน 50 คน นักวิชาการขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบจำนวน 2 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 1 คน รวมทั้งหมด 53 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าว ข้าวโพด กระเทียม ผักกาดเขียวปลี และเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นป่าเขาอุดมสมบรูณ์และมีทรัพยากรธรรมชาติมาก เช่น ป่าไม้เบญจพันธุ์สัตว์ป่านานาชนิด (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเวลาว่างในฤดูทำการเกษตร เพื่อช่วยเหลือครอบครัวและได้พบปะกันในหมู่สมาชิก สำหรับแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สำหรับแนวทางในการส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในเขต ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง พบว่า กลุ่มเกษตรกรมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะทำผลิตภัณฑ์ไม้ถูพื้น โดยเน้นการใช้วัสดุ และวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในชุมชน ซึ่งได้แก่ เศษผ้า ไม้ ที่เหลือใช้และมีอยู่ในชุมชน นำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ไม้เช็ดพื้น ด้วยการบูรณาการภูมิปัญญาที่มีอยู่กับทรัพยากรที่มีในชุมชน ซึ่งทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและมีการสร้างเศรษฐกิจในชุมชนให้คล่องตัวในครัวเรือนอีกด้วย โดยสามารถนำไปจำหน่ายภายในชุมชน และงานกิจกรรมที่ทางหน่วยงานราชการจัดขึ้น
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทความ
  3. บทคัดย่อ
  4. สารบัญ
  5. สารบัญตาราง
  6. สารบัญรูปภาพ
  7. บทที่ 1
  8. บทที่ 2
  9. บทที่ 3
  10. บทที่ 4
  11. บทที่ 5
  12. บรรณานุกรม
  13. เอกสารอ้างอิง

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ