ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนานวัตกรรมพื้นบ้านในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรตำบลหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.พัชรี ปัญญานาค
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกร 2. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาสร้างเป็นนวัตกรรมพื้นบ้าน
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
การใช้สารเคมีทางการเกษตรโดยเฉพาะสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีความเสี่ยงต่อสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภค การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนานวัตกรรมพื้นบ้านในการลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การร่วมเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม และการทดลองปฏิบัติ สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้ในการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยส่วนใหญ่ตอบคำถามแต่ละข้อได้ถูกต้องร้อยละ 53.14-98.35 และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้สารเคมีที่ถูกต้องทุกครั้งร้อยละ 58.75-85.15 ปฏิบัติเป็นบางครั้งร้อยละ 14.85-32.67 และไม่ปฏิบัติตามร้อยละ 0.00-14.52 โดยพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องมากที่สุด คือ อาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชคิดเป็นร้อยละ 85.99 ส่วนพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำมากที่สุด คือ เมื่อมีการฉีดพ่นสารเคมีจะทำป้ายหรือประกาศเตือนเพื่อป้องกันให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ซึ่งเมื่อศึกษาเชิงความสัมพันธ์พบว่า ผู้ที่ตอบคำถามถูกต้องส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความถี่ของการปฏิบัติถูกต้อง (r = 0.116-0.451, p<0.050) จึงบ่งชี้ได้ว่าผู้ที่มีความรู้ส่วนใหญ่แสดงพฤติกรรมปฏิบัติตามข้อแนะนำของการใช้สารเคมีที่ถูกต้องบ่อยกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้ สำหรับการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชมี 5 แบบ ดังนี้ 1) การใช้วิธีทางการทำเกษตรกรรม ได้แก่ การทำปลูกพืชแบบผสมผสาน การใช้พืชพันธุ์ต้านทาน และเลือกช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสม 2) การใช้วิธีเขตกรรม ได้แก่ การตากดิน การคลุมแปลง การปล่อยน้ำท่วมขัง และการปลูกพืชหมุนเวียน 3) การใช้วิธีกล ได้แก่ การเก็บหรือจับ การเผา และการใช้แสงไฟล่อ 4) การใช้หลักการทางชีวภาพ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ควบคุมวัชพืช การเลี้ยงสัตว์ควบคุมสัตว์ศัตรูพืช และการควบคุมด้วยแมลงศัตรูพืช และ 5) การใช้สมุนไพรป้องกันกำจัด ได้แก่ การปลูกพืชสมุนไพรไล่หรือดึงดูดแมลง และการใช้สารสกัดป้องกันกำจัดแมลง ส่วนแนวทางการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนานวัตกรรมพื้นบ้านในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช พบว่า ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ การมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 2) การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลและการเลือกภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) การสร้างนวัตกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การทำสารกำจัดวัชพืช การทดลองใช้สารกำจัดวัชพืช การประเมินผลการทดลอง และการสรุปผลการทดลอง 4) การใช้ประโยชน์นวัตกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การจัดทำคู่มือ การจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
เอกสารงานวิจัย
  1. ปกนอก
  2. ปกใน
  3. บทคัดย่อ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. สารบัญ
  6. บทที่ 1
  7. บทที่ 2
  8. บทที่ 3
  9. บทที่ 4 (1)
  10. บทที่ 4 (2)
  11. บทที่ 4 (3)
  12. บทที่ 4 (4)
  13. บทที่ 4 (5)
  14. บทที่ 4 (6)
  15. บทที่ 5
  16. เอกสารอ้างอิง
  17. ภาคผนวก ก
  18. ภาคผนวก ข

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ