ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในท้องถิ่นของ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
Participatory Learning Process to Reduce Local Agricultural Chemical Usage of Agricultural Plant Grower Group, Nong Long sub-district, Wieng Nong Long district, Lamphun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พอใจ สิงหเนตร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์ และปัญหาของการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องของเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน 2. เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่จะนำไปสู่การบริหารจัดการเพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน, การลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
บทคัดย่อย
งานวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์ และปัญหาของการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องของเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน 2) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่จะนำไปสู่การบริหารจัดการเพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและแนวคิดการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเข้ามาหนุนเสริมตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชการเกษตร จำนวน 15 คน ในเขตพื้นที่ตำบลหนองล่อง และใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันประชาชนในเขตตำบลหนองล่อง มีความตระหนักเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบไร้สารเคมี เนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพ และราคาของปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืชที่มีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตทางด้านการเกษตรของเกษตรกรในเขตตำบลหนองล่องมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรมาก และมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องลดการใช้สารเคมีดังกล่าวลง โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในท้องถิ่นโดยการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนดิน และนำปุ๋ยที่ได้กลับมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในตำบลนี้ ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านการเกษตรลง ควบคู่ไปกับกับการรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน รวมทั้งการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายการปลูกผักปลอดสาร จะทำให้ได้ผักที่หลากหลายและมีความแตกต่างกันไป มีการกระจายรายได้ทั่วถึงกัน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ