ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อลดการพึ่งพิงสารเคมีอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Sustainable Agriculture Drive to Reduce Chemical with Community Participation at Ban Tung satok, Sanpatong District, Chiangmai Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พอใจ สิงหเนตร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์ และปัญหาของการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องของชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อลดการพึ่งพิงสารเคมีอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการลดขยะในครัวเรือน โดยใช้แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนเข้ามาหนุนเสริมของชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
คำสำคัญ
เกษตรกรรมยั่งยืน, การลดการพึ่งพิงสารเคมี, การมีส่วนร่วมของชุมชน
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์ และปัญหาของการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องของชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อลดการพึ่งพิงสารเคมีอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางการลดขยะในครัวเรือน โดยใช้แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนเข้ามาหนุนเสริมของชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวบ้านในชุมชนตำบลทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ จำนวน 15 คน จำนวน 15 คน และใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันประชาชนในเขตตำบลทุ่งสะโตก ประสบปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งโรคเฉียบพลัน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่ามัว และโรคเรื้อรัง ปัญหาดังกล่าว สืบเนื่องจากที่ประชาชนได้บริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี จึงมีผลให้เกิดโรคเหล่านั้น 2) เกษตรกรให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกรรมที่ปลอดสารเคมี โดยการใช้ปุ๋ยไส้เดือนดินนำร่อง 3) แนวทางการลดขยะในครัวเรือนคือการเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยไม่ส่งผลต่อมลภาวะการเน่าเหม็นของขยะในครัวเรือนและการเลี้ยงไส้เดือนดินสามารถนำผลผลิตปุ๋ยที่เกิดจากไส้เดือนทั้งรูปแบบน้ำ และมูลไส้เดือน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. รายงาน

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ