ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนบริเวณพื้นที่เทศบาล ต.นาอาน อ.เมือง จ.เลย
Guidelines for household organic waste disposal management in the Naan Municipality, Mueang District, Loei Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย จิตไธสง จิตไธสง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์บริเวณพื้นที่เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนบริเวณพื้นที่เทศบาลตำบล นาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
คำสำคัญ
ขยะมูลฝอย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่ต้องการ ที่เป็นของแข็งหรืออ่อน มีความชื้น ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร ถุงพลาสติก ภาชนะกล่องใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์รวมตลอดถึงวัตถุอื่น สิ่งใดที่เก็บกวาดได้จากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น,ขยะอินทรีย์ หมายถึง ขยะที่มีส่วนประกอบอินทรีย์สาร และความชื้นค่อนข้างสูง ย่อยสลายง่ายเน่าเปื่อยเร็ว เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ ทำให้มีกลิ่นเน่าเหม็น ขยะประเภทนี้ ได้แก่ เศษอาหาร เศษพืชผัก เศษผลไม้ ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ต่างๆ มูลสัตว์ ฯลฯ ในพื้นที่เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย การกำจัดขยะประเภทนี้ ควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการทำปุ๋ยก่อน,แนวทาง หมายถึง วิธีการที่เทศบาลตำบลนาอาน ใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ภายในเทศบาลตำบลนาอานอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาพปัญหาและพื้นที่ การจัดการขยะอินทรีย์ หมายถึง การกำจัด หรือทำลายขยะอินทรีย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการจัดการขยะมูลฝอย โดยมีรูปแบบและวิธีการในการกำจัดหลายวิธี ได้แก่ การเผา การฝังกลบแบบสุขาภิบาล การหมักทำปุ๋ย การใช้ประโยชน์จากขยะ การผลิตแก๊สชีวภาพจากขยะ เป็นต้น,เทศบาล หมายถึง เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย ครัวเรือน หมายถึง ครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์และแนวทางในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนบริเวณพื้นที่เทศบาลตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 หมู่บ้าน 130 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป IBM SPSS Statistics Desktop 22.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์สอบถามผู้นำชุมชน 60 คน วิเคราะห์โดยทำการเรียบเรียงจัดหมวดหมู่ให้เหมาะสม สรุปและอภิปรายผลในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.97, S.D=1.31) ซึ่งความคิดเห็นของชุมชนในระดับสูงที่สุด คือ ปัญหาขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่หลัก ๆ เกิดจากสถานประกอบการต่าง ๆ (=3.74, S.D=1.33) ส่วนระดับน้อยที่สุดคือ มีคนนอกพื้นที่แอบลักลอบนำขยะทิ้งตามขอบถนน (=2.24, S.D=1.40) 2) แนวทางในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.19, S.D=1.04) ซึ่งแนวทางในการจัดการขยะอินทรีย์สูงที่สุดคือ ประชาชนทุกคนควรตระหนักถึงปัญหาขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้น และช่วยกันแก้ไขปัญหาเรื่องขยะอินทรีย์โดยเริ่มที่ต้นทาง (=4.31, S.D=0.94) ส่วนระดับน้อยที่สุดคือ แต่ละบ้านควรจัดทำถังขยะอินทรีย์ เพื่อง่ายต่อการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนแบบฝังกลบ (=4.03, S.D=1.20) การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน พบว่า 1) ความคิดเห็นของชุมชนในการจัดการขยะอินทรีย์ พบว่า ประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้และทำการกำจัดขยะอินทรีย์ไม่ถูกวิธี หรือบางส่วนไม่นำถังกำจัดขยะอินทรีย์ที่ทางเทศบาลแจกให้ไปฝังเพื่อทิ้งขยะอินทรีย์ 2) แนวทางในการจัดการขยะอินทรีย์พบว่า ขยะอินทรีย์ ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ จะจัดการโดยทิ้งใส่ถังกำจัดขยะอินทรีย์ที่ทางเทศบาลแจกให้และนำไปเป็นอาหารสัตว์ และชุมชนมีกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ มีการจัดอบรมและให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์เป็นรายเดือน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทนำ
  2. รายงาน
  3. ปก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ