ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์ บริเวณพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จังหวัดเลย
The Potential development of Households in Organic Waste Management in the Administrative Area of Seaw, Mueang District, Loei Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย จิตไธสง จิตไธสง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์บริเวณพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จังหวัดเลย 1.2.2 เพื่อศึกษาศักยภาพของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์บริเวณพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จังหวัดเลย
คำสำคัญ
ศักยภาพ หมายถึง ภาวะแฝง อำนาจ หรือคุณสมบัติที่แฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้พัฒนา หรือทำให้ปรากฏขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด,ครัวเรือน หมายถึง เป็นหน่วยที่อยู่อาศัยพื้นฐานซึ่งมีการผลิตและการบริโภคทางเศรษฐกิจ ซึ่งคำนี้อาจมีความหมายเดียวกับครอบครัวหรือไม่ก็ได้ ครัวเรือนเป็นหน่วยพื้นฐานของการวิเคราะห์ในหลายแบบจำลองสังคม เศรษฐศาสตร์จุลภาคและรัฐบาล คำนี้ หมายความถึง ปัจเจกบุคคลทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยเดียวกัน,การจัดการ หมายถึง การทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือการสั่งการ และการควบคุมองค์กร หรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน,ขยะอินทรีย์ หมายถึง เป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้ หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ ซากพืช ซากสัตว์ เป็นต้น
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์และศึกษาศักยภาพของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์บริเวณพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จังหวัดเลย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 132 คน และผู้นำชุมชน 30 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป IBM SPSS Statistics Desktop 22.0 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์บริเวณพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย( = 2.24, S.D.= 1.10) พบว่า ความคิดเห็นของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่หลักๆพบว่าประชาชนขาดความรู้วิธีการจัดการขยะอินทรีย์โดยวิธีการทำแก๊สชีวภาพ ( = 2.48, S.D.= 1.04) ส่วนความคิดเห็นของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์ ระดับน้อยที่สุด คือ ทางอบต. มีการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ ( = 2.01, S.D.= 1.06) 2) ศักยภาพของครัวเรือนในการจัดการขยะอินทรีย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D.= 1.03) พบว่า ในระดับสูงที่สุด คือ ประชาชนทุกคนตระหนักถึงปัญหาขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้น และช่วยกันแก้ไขปัญหาเรื่องขยะอินทรีย์โดยเริ่มที่ต้นทาง ( = 4.10, S.D.= 0.95) ระดับน้อยที่สุด คือ การจัดการขยะอินทรีย์โดยวิธีการทำแก๊สชีวภาพ ( = 3.72, S.D.= 0.97) ส่วนการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน พบว่า ประเด็นด้านความคิดเห็นในการจัดการขยะอินทรีย์นั้นคนในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดการขยะอินทรีย์เป็นบางส่วน และคนในชุมชนประสบปัญหาในการจัดการขยะอินทรีย์ เนื่องจากขาดองค์ความรู้ ความร่วมมือ และเครื่องมือในการแปรสภาพเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ ขาดงบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินการจัดการขยะอินทรีย์ในการซื้อเครื่องมือเพื่อแปรสภาพเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ ระยะเวลาการจัดเก็บขยะมูลฝอยมีความเหมาะสม ส่วนศักยภาพของครัวเรือนในการจัดกรขยะอินทรีย์พบว่า ปัจจุบันชุมชนมีวิธีการจัดการขยะอินทรีย์โดยการเก็บรวบรวมคัดแยกและกำจัดโดยใช้ถังขยะเปียก มีการคัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภท ส่วนขยะอันตราย มีการเก็บรวบรวมให้องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยวไปทำลาย ขยะอินทรีย์รวบรวมนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ส่วนขยะอินทรีย์ได้มีการอบรมสอนเรื่องการทำปุ๋ยหมัก
เอกสารงานวิจัย
  1. บทนำ
  2. รายงาน
  3. ปก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ