ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการจัดการกิจกรรมโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการสร้างรายได้ ให้กับผู้สูงอายุตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
The Activity Model to Generate Income for the Elderly by Citizen Participation in Yangkeenok Sub-district Administrative Office, Khueang Nai District, Ubonratchathani Province)

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.อัญชลี โกกะนุช
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 1.2.2 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการสร้าง รายได้ให้กลุ่มผู้สูงอายุตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ หมายถึง กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีความสามารถในการประกอบกิจกรรม เพื่อสร้างรายได้และอาศัยในเขตพื้นที่ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 4 ,รูปแบบ หมายถึง การถ่ายทอดกระบวนการในการจัดการกิจกรรมที่สอดคล้องกับกลุ่ม ผู้สูงอายุและบริบทของตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการนำเสนอในรูป ภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย การจัดการกิจกรรมสามารถสร้างรายได้ หมายถึง การออกแบบกระบวนการการพัฒนา ผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงวัย และสามารถนำไปสู่การ สร้างรายได้ให้กับตนเองและกลุ่มอาชีพ
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพ ของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการ จัดการกิจกรรมโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างรายได้ให้กลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารสาวนตำบลยาง ขี้นก บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก และกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี วิธีการรวบรวมข้อมูลได้แก้ การสัมภาษณ์อย่างไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มเฉพาะ การ ปฏิบัติการ ข้อมูลทุติยภูมิ และกระบวนการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมายมีศักยภาพทางด้านการทอผ้าก่วยและ การสานเถาวัลย์เครือซูด โดยมีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ สำหรับความต้องการในการพัฒนาพบว่า กลุ่ม ผู้สูงอายุมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณะที่สอดคล้องกับพื้นที่และการวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภณัฑ์ สำหรับรูปแบบการจัดการกิจกรรมโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกิจกรรมที่เป็น 1) องค์ประกอบต้นทางได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้รู้/ปราชญ์ชุมชน วิทยากรกระบวนการ ผู้บริหารท้องถิ่น วัตถุดิบ และสถานที่ ในขณะที่ 2) องค์ประกอบทางด้านกิจกรรมระหว่างทางได้ แก่ 2.1) การ วางแผนและการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 2.2) การทดลองปฏิบัติ 2.3) การตรวจเช็คผลิตภัณฑ์เพื่อการปรับปรุง และพัฒนา และ 2.4) การปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ รูปแบบดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวคิด PDCA และ 3) องค์ประกอบของกิจกรรมปลายทางได้แก่ การใช้ส่วนประสมการสื่อสารทางการตลาด นอกจากนี้ผลการวิจัยในครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้สนใจที่มี ศักยภาพในวัยอื่นได้เป็นอย่างดีและมีการระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เน้นอัตลักษณและสร้าง รายได้ให้กับสมาชิกของกลุ่มผู้สูงอายของตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีได้เป็นอย่างดี
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. รายงาน
  3. ส่วนนำ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ