ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้สูงอายุ เขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Guidelines for the development of the elderly school curriculum by using participatory research in Lai Hin Subdistrict Municipality, Ko Kha District, Lampang Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์พรนภา บุญนำมา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความต้องการของลักษณะกิจกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ
หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ,การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของลักษณะกิจกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุและเพื่อหาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการหรือสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน และญาติของผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะกิจกรรมที่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนต้องการให้นำเข้ามาไว้ในหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของชุมชนตนเอง โดยหวังว่าจะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนได้ประกอบด้วยกิจกรรม 6 กลุ่ม ดังนี้ 1) การดูแลสุขภาพผู้สูงวัย 2) ประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน3) ภาษาไทยและประวัติศาสตร์ 4) กิจกรรมเพื่อสังคมและการศึกษาตามอัธยาศัย 5) การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 6) กิจกรรมสันทนาการ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้สูงอายุเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ที่ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1) ด้านเนื้อหา รายวิชา หรือกิจกรรมที่สอน ควรเป็นรายวิชาที่ได้มาจากการระดมความคิดเห็นร่วมกันจากหลายภาคส่วนและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงจะสามารถจูงใจให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอตลอดหลักสูตร และ 2) ด้านการบริหารจัดการ มุ่งแก้ปัญหาที่สำคัญ 2 ประการคือ การไม่มาเข้าร่วมกิจกรรมและความเข้าใจไม่ถูกต้องว่าเมื่อเคยมาเรียนแล้วจะไม่สามารถมาได้อีก ดำเนินการแก้ไขโดยเพิ่มความถี่และความชัดเจนในการสื่อสารเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนให้ชัดเจนขึ้น และพบว่าการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา วัน และเวลาในการจัดกิจกรรมให้ชัดเจนล่วงหน้าสามารถจูงใจให้เกิดกลุ่มผู้เรียนใหม่ได้เช่นกัน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. หน้าปก
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. บทคัดย่อ
  5. บทที่ 1
  6. บทที่ 2
  7. บทที่ 3
  8. บทที่ 4
  9. บทที่ 5
  10. บรรณานุกรม
  11. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ