ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
Enhancing the Well-Being of the Elderly People by Participation In the WangThong Sub-district, Wang Nuea, Lampang Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.อาชวิน ใจแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน โครงสร้างของชุมชน การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุ และปัญหาการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง 2. เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ
การเสริมสร้างสุขภาวะ, แบบมีส่วนร่วม, กลุ่มผู้สูงอายุ
บทคัดย่อย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน โครงสร้างของชุมชน การดูแลสุขภาวะ ของผู้สูงอายุ และปัญหาการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลวังทอง อำเภอ วังเหนือ จังหวัดลำปาง ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ คือ สมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 50 คน นักวิชาการขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองจำนวน 2 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 54 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) พื้นที่บริบทของชุมชนตำบลวังทองส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และเป็นพื้นที่ป่าสงวน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีจำนวนผู้สูงอายุ 559 คน บางส่วนยังคงทำอาชีพการเกษตร ได้บ้าง บางส่วนไม่มีอาชีพ ทางด้านปัญหาของผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากเพิ่มขึ้นขณะที่คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานในชุมชนซึ่งอยู่ในวัยทำงานปัจจุบันจะนิยมไปทำงานต่างถิ่นกันมาก ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ยังคงดำรงชีพอยู่ในชุมชน มีศักยภาพในการทำงานลดลงตามวัย แต่ยังมีชีวิตที่ยืนยาวทำให้เกิดความรู้สึกเหงา หดหู่ ขาดกำลังใจในการดำเนินชีวิต เนื่องจากมีกิจกรรมที่สามารถทำได้น้อยและไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ๆ ซึ่งที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองได้ดำเนินการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุได้บ้าง แต่ยังขาดกลไกการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพเพราะขาดความชัดเจนในด้านของบุคลากร (2) กลุ่มผู้สูงอายุได้รวมตัวกันโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง ตั้งชื่อว่าโรงเรียนธารทองตองตึง โดยจะมาพบปะกันในทุก ๆ วันอังคาร สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีความชื่นชอบความบันเทิง โดยมีความต้องการมีกิจกรรมร่วมกัน ทั้งทางด้าน การเสริมสร้างสมรรถนะด้านร่างกายหรือจิตใจ โดยมีความหวังที่จะส่งผลให้สุขภาวะที่ดีมีความสุข ในการดำรงชีวิตในชุมชนจากการพบปะเพื่อนสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ทำกิจกรรมร่วมกันได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอีกด้วย สมาชิกจะมีการนำเอาอาหารกลางวันมาจากบ้านเพื่อมา ทานร่วมกันที่โรงเรียนและมีการออมเงินเพื่อสำหรับการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม จากการที่ได้ประชุมเวทีร่วมกัน กลุ่มผู้สูงอายุมีความต้องการที่จะดำเนินกิจกรรมทางด้านการบันเทิงที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะทาง ด้านร่างกายและจิตใจ โดยกิจกรรมที่กลุ่มให้ความสนใจมาก คือ กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยท่าเต้นจังหวะบาสโลบ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการออกกำลังกายเพิ่มเติมในวันที่มาโรงเรียนและปฏิบัติได้ที่บ้าน โดยได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลวังทอง มาช่วยเป็นผู้ฝึกสอนและซ้อม ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุมีความสุขด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์มีสดชื่นที่ได้ร่วมกิจกรรมที่มาจากความต้องการของกลุ่มเอง นอกจากนี้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองยังเอาใจใส่และให้ความสำคัญในด้านผู้สูงอายุมากด้วยและได้เข้าร่วมเรียนรู้การเต้นกับกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุและร่วมกิจกรรมอื่น ๆ เสมอ
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. บทคัดย่อ
  3. หน้าปก
  4. สารบัญ
  5. สารบัญตาราง
  6. สารบัญภาพ
  7. บทที่ 1
  8. บทที่ 2
  9. บทที่ 3
  10. บทที่ 3 ส่วนเพิ่ม
  11. บทที่ 4
  12. บทที่ 5
  13. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ