ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
VALUE-ADDED ON LOCAL WISDOM PRODUCTS OF ELDERLY GROUP IN TUMBOL WIEANG, CHIANG SAEN DISTRICT, CHIANG RAI PROVINCE

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.บุญฑวรรณ วิงวอน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2. ศึกษาความต้องการและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ
การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มผู้สูงอายุ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
การวิจัยมีจุดประสงค์ (1) วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มผู้สูงอายุ และ (2) ศึกษาความต้องการและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนสมาชิกผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 68 คน นักวิชาการ ของเทศบาลเวียง จำนวน 3 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 1 คน เจ้าอาวาสและคณะพระสงฆ์ วัดพระธาตุผาเงา จำนวน 13 รูป ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 4 คน รวมทั้งหมด 89 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการเสวนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สถานการณ์ของสมชิกกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง เนื่องจากได้รับการตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และดูแลใส่ใจตนเองอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมสนับสนุนกลุ่มผู้สูงอายุทุกวันพุธของแต่ละสัปดาห์จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการให้ความรู้ด้านอาชีพเสริม หลักสูตรระยะสั้น การศึกษาดูงาน เน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้จากหน่วยงานภายนอกเข้าไปสนับสนุน ให้เกิดการเรียนรู้ และ (2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการรายได้เสริมและความรู้ในการประกอบอาชีพ ความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มผ่านการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและสมุนไพรท้องถิ่น ส่วนแนวทางการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชนพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุได้มีการวางแผนส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครอบครัว โดยกลุ่มผู้สูงอายุได้วางแผนระหว่างชุมชนและเทศบาลตำบลเวียงเพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภายในโรงเรียนสามวัย โดยมีการแบ่งบทบาทการทำงานอย่างชัดเจน เน้นการประยุกต์ใช้วัตถุดับภายในชุมชนด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น ไข่มันสมุนไพร แชมพูสมุนไพร การบูร ผลิตภัณฑ์ยาหม่อง ลูกประคบและพิมเสนหอม โดยมีบรรจุภัณฑ์พัฒนามาจากภูมิปัญญาด้วยการบูรณาการจากทรัพยากรภายในชุมชน คือ ตะกร้าสานจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ
เอกสารงานวิจัย
  1. บทความ
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่ 1-3
  4. บทที่ 4
  5. หน้าปก
  6. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ