ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง นโยบายเพื่อการพัฒนาเครือข่ายความเข้มแข็งทางสุขภาพผ่านการประยุกต์ศิลปะการแสดง และการต่อสู้ล้านนาของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
The Policies for Social Network Development Process of Health by Apply Performing Arts And Martial Arts Lanna Among Aging Groups In Nongbao Sub-district Chaipragran Disritct Chiang Mai Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์เอกสิทธิ์ ไชยปิน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการพัฒนานโยบายเครือข่ายความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการประยุกต์ศิลปะการแสดงและการต่อสู้ล้านนา ของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการพัฒนานโยบายการพัฒนาเครือข่ายความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการประยุกต์ศิลปะการแสดงและการต่อสู้ล้านนาของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ
คำสำคัญ
นโยบายการพัฒนาเครือข่าย ,ความเข้มแข็งทางสุขภาพ ,ศิลปะการแสดงและการต่อสู้ล้านนา
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนานโยบายเครือข่ายความเข้มแข็งทางสุขภาพผ่านการประยุกต์ศิลปะการแสดงและการต่อสู้ล้านนา และเพื่อศึกษาผลการดำเนินนโยบายเครือข่ายความเข้มแข็งทางสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลโดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเวทีประชาคม การสนทนากลุ่มการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อนำไปสู่นโยบายการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนานโยบายเพื่อสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยผ่านการประยุกต์ศิลปะการแสดงและการต่อสู้ล้านนาเริ่มเกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนอันได้แก่ ขั้นการเริ่มต้นนโยบาย ขั้นกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ ขั้นการวางแผนเพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ขั้นการดำเนินการตามนโยบาย ขั้นประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย และขั้นการนำเสนอนโยบายต่อทางเทศบาลเพื่อพิจารณานำสู่แผนงานกระบวนการต่าง ๆ เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มผู้สูงอายุ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นักวิชาการ และเทศบาลที่สนับสนุนด้านอุปกรณ์และงบประมาณ ผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุ มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น เห็นความสำคัญของการนำศิลปะการแสดงและการต่อสู้ของล้านนามาประยุกต์เพื่อการออกกำลังกายในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชน มีการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่นและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในด้านพิธีกรรมกับผู้สูงอายุระหว่างชุมชนต่างๆ มีกิจกรรมสืบทอดประเพณีทางศาสนา เกิดภาวะผู้นำทางวัฒนธรรมในชุมชน มีการขยายผลของกิจกรรมสู่ชุมชนอื่น ๆ ผ่านบทบาทของแกนนำ มีการถ่ายทอดกิจกรรมสู่กลุ่มเยาวชน ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกันและก่อเกิดรายได้ สร้างความภาคภูมิใจ เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกิดความเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านวัฒนธรรม โดยมีแนวทางคือการฟื้นฟูอาชีพดั้งเดิมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ การยกย่องปราชญ์ชุมชน การสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ การจัดตั้งกองทุนเพื่อสวัสดิการ และการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอต่อการกำหนดนโยบายของเทศบาลต่อไป องค์ความรู้จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า การพัฒนานโยบายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของผู้สูงอายุให้ประสบผลสำเร็จ นอกจากการใช้กลไกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีอยู่ในชุมชนมาเป็นเครื่องมือเพื่อกำหนดนโยบายซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาและความต้องการของชุมชน มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆ ในชุมชนเพื่อการกำหนดนโยบาย การระดมทุนทางสังคม การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับชุมชน การสร้างบทบาทผู้นำในชุมชน และการส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมบนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน กระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจและร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. หน้าปกใน
  3. บทความ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. บทคัดย่อ
  6. บทคัดย่อ ENG
  7. สารบัญ
  8. สารบัญภาพ ตาราง
  9. บทที่ 1
  10. บทที่ 2
  11. บทที่ 3
  12. บทที่ 4
  13. บทที่ 5
  14. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ