ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสื่อสารสุขภาพผู้สูงอายุผ่านสื่อพื้นบ้านในกลุ่มเยาวชนพื้นที่ เทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
Older Persons Health Communication by Folk Media in Youth in Wiang (Ban Sai) Subdistrict Municipality, Chiangkham District, Phayao Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ภาคภูมิ พิชวงค์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) 2. เพื่อออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย)
คำสำคัญ
การสื่อสารสุขภาพผู้สูงอายุ, สื่อพื้นบ้าน, เยาวชน
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารสุขภาพผู้สูงอายุผ่านสื่อพื้นบ้านในกลุ่มเยาวชนพื้นที่เทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา” มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มประชาชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) อ.เชียงคำ จ.พะเยา โดยใช้กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) จำนวน 70 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุชื่นชอบกิจกรรมนันทนาการ คือ กิจกรรมฟังเพลงซอประกอบดนตรีพื้นเมือง ผู้วิจัยจึงนำมาเป็นข้อมูลในการสอดแทรกเนื้อหาการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน และดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เข้าไปในเพลงซอประกอบดนตรีพื้นเมือง เพื่อให้เข้าถึงการรับรู้ของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นมีความสนใจเดิมในเรื่อง เพลงซอประกอบดนตรีพื้นเมืองอยู่แล้ว โดยกลุ่มบัวระวงศ์เป็นการรวมกลุ่มของเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลเวียง (บ้านทราย) อายุตั้งแต่ 10-18 ปี จำนวน 20 คน เป็นผู้เผยแพร่การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หลังจากได้ฟังการขับเพลงซอประกอบดนตรีพื้นเมืองของเยาวชนกลุ่มบัวระวงศ์ พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุมีความสุข อารมณ์ดี ซึ่งเปรียบเทียบกับกิจกรรมประเภทบรรยาย หรือกิจกรรมประเภทประดิษฐ์ของใช้ไม้สอย สุขภาพจิตของผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการสังเกตใบหน้า อารมณ์ และลักษณะการพูด การให้สัมภาษณ์ ผู้สูงอายุมีอารมณ์ยิ้มแย้ม หัวเราะ สลับกับการให้สัมภาษณ์ตลอดเวลา สามารถให้ข้อมูลได้อย่างกระตือรือร้น มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง จากการสัมภาษณ์เรื่องโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพตนเอง ผู้สูงอายุสามารถจดจำได้ เพราะอาจจะเนื่องมาจากมีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเข้าไปในเนื้อเพลงซอประกอบดนตรีพื้นเมือง การให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเกี่ยวกับโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเวียง พบว่า ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเอง รวมทั้งการเป็นผู้เผยแพร่วิธีการดูแลสุขภาพไปให้กับผู้สูงอายุคนอื่นๆ
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ
  3. สารบัญ
  4. บทที่ 1-5
  5. บรรณานุกรม
  6. ภาคผนวก
  7. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ