ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุนำร่องเพื่อส่งเสริมสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
Development of the curriculum of geriatric school: the prototype for promoting active healthy aging in Soemngam Municipality, Soemngam District, Lampang Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ณัฐพงษ์ คันธรส
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการในการสร้างหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องของผู้อายเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 2. เพื่อสร้างหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องอย่างมีส่วนร่วมที่เป็นนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 3. เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปเสนอแนะให้แก่เทศบาลตำบลเสริมงามเพื่อกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป
คำสำคัญ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุนำร่อง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เทศบาลตำบลเสริมงาม
บทคัดย่อย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการในการสร้างหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 2) สร้างหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องอย่างมีส่วนร่วมที่เป็นนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง และ 3) นำผลที่ได้จากการศึกษาไปเสนอแนะให้แก่เทศบาลตำบลเสริมงามเพื่อกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมทั้งการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research- PAR) คณะผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการกำหนดแก่นสารจากการตีความ (Thematic Analysis) โดยนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การจัดเวที และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากการใช้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเสริมงามเป็นพื้นที่ในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า บริบทด้านสถานภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม มีอยู่มากถึงร้อยละ 26.33 ทำให้พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเสริมงามเข้าสู่การเป็นเมืองผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว มีอาชีพมีกลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตร กลุ่มรับจ้าง การดำเนินกิจกรรมผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการหลักสูตรผู้สูงอายุนำร่องในเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางภายใต้หลักสูตรผู้สูงอายุวิถีคนเสริม หรือ โมเดลโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเสริมงาม ประกอบไปด้วย 3 ด้าน ที่เป็นหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีคนเสริม ได้แก่ 1) ด้านความรู้ การส่งเสริมความรู้ของคนในท้องถิ่นคนเมืองเสริม โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุให้เกิดความสุขและกิจกรรมที่ใช้ความรู้จากปราชญ์ในชุมชนเน้นการให้ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับดูแลสุขภาพ 2) ด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตตำราพื้นบ้าน การทำใบศรี การทำตลาดพื้นบ้าน ในด้านนี้พบว่า การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสืบสานวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ด้านนันทนาการและสุขภาพการส่งเสริมนันทนาการในชุมชน และการส่งเสริมสุขภาพชุมชน และกิจกรรมเสริมสร้างการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
เอกสารงานวิจัย
  1. cover
  2. cover inside
  3. content
  4. abstract
  5. บทที่ 1
  6. บทที่ 2
  7. บทที่ 3
  8. บทที่ 4
  9. บทที่ 5
  10. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ