ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการคัดกรองความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และกระดูกด้วยแผนภูมิร่างกายและพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง ที่โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Elderly health promotion by using body map to screen muscle and skeleton disorder and self care skill improvement at Elderly school Tambon Mae Rang, Pa Sang District, Lamphun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุพา อภิโกมลกร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความตระหนักในความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการคัดกรองด้วยแผนภูมิร่างกาย 2. เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ,การใช้แผนที่ร่างกาย (Body Map),ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก (Musculo-skeletal Disorders),การรับรู้และตระหนักในความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ,ทักษะการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการคัดกรองด้วยแผนภูมิร่างกาย และพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามการคัดกรองความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกด้วยแผนภูมิร่างกาย และพฤติกรรมการดูแลตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัย ผู้สูงอายุตระหนักในความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกของตนเอง ตำแหน่งที่พบว่ามีอาการเจ็บปวดหรือมีอาการผิดปกติที่พบมากที่สุด คือ เข่า ร้อยละ 48.3 รองลงมาได้แก่ หลังส่วนล่าง ไหล่ มือ และ คอ คิดเป็นร้อยละ 11.7 10.0 10.0 และ 8.3 ตามลำดับ อาการที่พบมากที่สุดคือ เจ็บหรือปวด ร้อยละ 53.3 รองลงมา ได้แก่ การเป็นตะคริว และอาการขัดยอก ร้อยละ 25.0 และ 16.7 ตามลำดับ ผลของการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุด้วยการยืดเหยียดร่างกายด้วยโยคะ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่าสุขภาพของตนเองดีขึ้นมาก มีค่าเฉลี่ย 4.29 จากคะแนนเต็ม 5 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .825 และมีความอ่อนตัวดีขึ้น ข้อต่อทำงานดีขึ้น อาการเจ็บปวดหรือปวดเมื่อยน้อยลง และกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม และหลับสบายขึ้น
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. คำนำ บทคัดย่อ สารบัญ
  3. บทที่ 1-5
  4. บทความ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ