ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน
Community Health Care

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.บุญฑวรรณ วิงวอน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
๑. สังเคราะห์ความต้องการของพื้นที่เครือข่ายในประเด็นผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตของศจค. ๒. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดูแลสุขภาพชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการขับเคลื่อน ๓. เพื่อส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน ๔. เพื่อหนุนเสริมนักวิชาการของท้องถิ่นในการบริหารจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชนผ่านกระบวนการดำเนินงานทางวิชาการ ๕. เพื่อสร้างนวัตกรรมและคู่มือการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชนผ่านกระบวนการวิจัย โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ๖. เพื่อติดตาม สนับสนุนโครงการวิจัยจำนวน ๒๙ แห่งและมีการบูรณาการข้อมูล ๗. เพื่อสังเคราะห์โครงการวิจัยในประเด็นการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน จำนวน ๒๙ แห่ง
คำสำคัญ
1.ชุมชน,การดูแลสุขภาพชุมชน ,การดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน ,ระบบสุขภาพชุมชน
บทคัดย่อย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1)สังเคราะห์ความต้องการของพื้นที่เครือข่ายในประเด็นผู้สูงอายุ (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการดูแลสุขภาพชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการขับเคลื่อน (3) ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน (4) หนุนเสริมนักวิชาการของท้องถิ่นในการบริหารจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านกระบวนการดำเนินงานทางวิชาการ (5) สร้างนวัตกรรมและคู่มือการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชนผ่านกระบวนการวิจัย โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (6) ติดตาม สนับสนุนโครงการวิจัยจำนวน 29 แห่งและมีการบูรณาการข้อมูล และ (7) สังเคราะห์โครงการวิจัยในประเด็นการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน จำนวน 29 แห่งเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการเสวนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุมีความต้องการแก้ปัญหาของพื้นที่ด้วยการพัฒนาโจทย์วิจัย ความต้องการของชุมชนและข้อเสนอโครงการร่วมกัน ด้วยการจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับแกนนำชุมชนในเขตเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อทำการวิเคราะห์ความจำเป็นในการแก้ปัญหาหรือแนวทางในการพัฒนาชุมชนในลักษณะของการร่วมคิด ร่วมดำเนินการปฏิบัติและร่วมรับผลประโยชน์เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง (2) ภายใต้โครงการวิจัยจำนวน ๒๙ โครงการ โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ นักพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชนต่างร่วมกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางในการแก้ปัญหาผ่านการเสนอโครงการหรือแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการและการแก้ปัญหาของผู้สูงอายุหรือการดูสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ (3) ผลการส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการการดูแลสุขภาพชุมชนพบว่า ผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ และหาแนวทางพัฒนาชุดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาอาชีพ หลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหาของผู้สูงอายุ (4) การหนุนเสริมนักวิชาการของท้องถิ่นในการบริหารจัดการข้อมูลชุมชนด้วยการประสานหัวหน้าโครงการผ่านการประสานนักวิชาการหรือนักวิจัยพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาร่วมวางแผนเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมในเชิงบูรณาการการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเครือข่ายหรือหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ (5) เกิดนวัตกรรมที่หลากหลาย อาทิ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์นวัตกรรมกระบวนการของโรงเรียน เกิดนวัตกรรมคู่มือการดูแลชุมชน นวัตกรรมกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุ นวัตกรรมการจัดการและเกิดนวัตกรรมการจัดการท้ายที่สุดส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณค่าในตนเองผ่านการยอมรับจากครอบครัว คนรอบข้างและสังคมท้องถิ่น (6) ผลการติดตามสนับสนุนโครงการ จำแนกได้ใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การเสริมสร้างสุขภาวะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) การพัฒนาหลักสูตร/แนวทาง/คู่มือ/มาตรการ/ การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน 3) การจัดตั้งกลุ่มอาชีพของผู้สูงอายุและดำเนินธุรกิจชุมชน(กลุ่มอาชีพหรือวิสาหกิจชุมชน) และ 4) การสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ (7) ผลจากการสังเคราะห์ประเด็นหลักจำนวน 4 ด้าน พบว่า 1) เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาระหว่างกระบวนการวิจัยสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนได้หลายศาสตร์หรือหลายวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การวิจัยเพื่อชุมชนหรือท้องถิ่นผ่านนักวิจัยมหาวิทยาลับราชภัฏลำปาง/นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งระดับบัณฑิตศึกษาและระดับอุดมศึกษา/นักวิจัยหรือนักวิชาการในท้องถิ่น/เครือข่ายของหน่วยงานท้องถิ่น โดยนำแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไปทำการประยุกต์ใช้ในการทำงานการทดลองเชิงปฏิบัติการและการเทียบเคียงได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ผ่านการบูรณาการกิจกรรม 2) เกิดนวัตกรรมใหม่ จำนวน ๖ ประเภท 3) เกิดความผูกพันในการทำกิจกรรมร่วมกัน 4) การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วม และ 5) เกิดการเรียนรู้ในการทำงานเชิงบูรณาการกับเครือข่ายทุกระดับ
เอกสารงานวิจัย
  1. หน้าปก
  2. บทที่ 1-3
  3. บทที่ 4
  4. บทที่ 5
  5. บทความ
  6. บทคัดย่อ
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ