ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
Management of Garbage though participation within municipal Tumbon Namphut Amphoe Langu District, Satun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ภมรรัตน์ สุธรรม
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์ด้านขยะ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล 2) เพื่อแนวทางในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
คำสำคัญ
-,การมีส่วนร่วม ,ขยะมูลฝอย,ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย,ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก,ขยะอันตราย,การจัดการขยะมูลฝอย,ความรู้,พฤติกรรมการจัดการขยะ,การลดการเกิดขยะมูลฝอย,การคัดแยกขยะ,การนำกลับมาใช้ใหม่
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อำเภอ ละงู จังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์ขยะในชุมชน ศึกษาหาแนวทางการ จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จัดเก็บข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร การ สัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด เป็นการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ จัดการขยะอย่างถูกวิธีและจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อระดมความคิดหาแนวทาง วิธีการจัดการขยะอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน และคนในชุมชน 11 หมู่บ้านๆละ 5 ครัวเรือน รวมจำนวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริบทชุมชนและสถานการณ์ขยะของตำบลน้ำผุดมีลักษณะเป็น พื้นที่ชนบทเป็นชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิมอยู่ร่วมกัน โดยมีรูปแบบวิธีการจัดการขยะในอดีตใช้ วิธีการเผา ฝังกลบ กองที่โคนต้นไม้ ต่อมาเมื่อชุมชนได้มีการขยายตัวมีปริมาณขยะที่ไม่สามารถย่อย สลายได้และปริมาณขยะอันตรายเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการขยะมากขึ้นเนื่องจากไม่ สามารถกำจัดขยะภายในครัวเรือนให้หมดไป ส่งผลให้มีปัญหาขยะตกค้างอยู่ในชุมชน ต่อมาองค์การ บริหารส่วนตำบลน้ำผุดได้จัดซื้อถังขยะแจกจ่ายในชุมชนและมีรถจัดเก็บ การทิ้งขยะลงถังในช่วงนั้นไม่ มีการคัดแยกขยะจัดเก็บโดยแยกเป็นโซน แบ่งวันห่างระยะ 3 วันหมุนเวียนกันไป รถขยะเข้ามาเก็บ ขยะไปทิ้งที่บ่อฝังกลบในตำบลกำแพง ประมาณวันละ 8-10 ตัน/วัน มีปัญหาจัดเก็บขยะไม่ทันมี ขยะตกค้างปริมาณมากรวมทั้งปัญหาที่ทิ้งขยะที่ตำบลกำแพงไม่พอต้องรอเคลียร์ขยะฝังกลบบางครั้ง 2-3 วันกว่าจะทิ้งได้ทำให้ขยะตกค้างอยู่ในรถและไม่ได้เข้าไปจัดเก็บในชุมชนเมื่อถึงรอบในแต่ละโซน ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นและส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งในชุมชน ปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอยขององค์ การบริหารส่วนตำบลน้ำผุดนั้นได้มีนโยบายการจัดขยะแบบปลอดถังขยะในชุมชนโดยได้เก็บถังขยะคืน จากชุมชนทุกชุมชน มีการจัดตั้งกองทุนรับซื้อขยะที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ส่งเสริมให้ ความรู้แก่ครัวเรือนให้มีการการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ในส่วนที่เป็นขยะเปียกก็นำมาเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ย อินทรีย์หรือฝังกลบในหลุมหลังบ้านหรือโคนต้นไม้ ขยะทั่วไปจะนำไปเผา/ฝังกลบ บางชุมชนสามารถ จัดการขยะได้หมด ไม่มีขยะตกค้าง จากสถานการณ์ด้านการจัดการขยะในปัจจุบัน องค์การบริหาร ส่วนตำบลน้ำผุดโดยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชนมีความต้องการ ให้คนใน ชุมชนมีพฤติกรรมการลดปริมาณขยะในครัวเรือนลง มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมในชุมชนและใส่ใจต่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการได้แนวทางในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนในพื้นที่องค์การ บริหารส่วนตำบลน้ำผุด ได้แก่ แนวทางที่ 1 การจัดการขยะแบบปลอดถังขยะ แนวทางที่ 2 การ จัดตั้งกองทุนขยะหรือธนาคารขยะ แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการคัดแยกขยะจากครัวเรือนต้นทาง แนวทางที่ 4 สนับสนุนการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แนวทางที่ 5 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการลดปริมาณขยะ การนำขยะมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ลดการใช้โฟม ถุงพลาสติก แนวทางที่ 6 อบรมการบริหารจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกหลักวิชาการ แนวทางที่ 7 การสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะขยายผลลงสู่สถานศึกษา แนวทางที่ 8 การส่งเสริมชุมชนต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน
เอกสารงานวิจัย
  1. การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ