ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การเสริมสร้างและการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนใน การบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่าย การวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
The strengthening and development of participation process of people sector in a local community management cooperative: A case study of a community networks in area based research of Lower North Provincial Cluster

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติ บดีรัฐ
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์นันทพันธ์ คดคง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ว่าที่ ร.ต.หญิงยุวดี พ่วงรอด
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการทางสังคม ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อสร้างเครือข่ายการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมด้านจัดการทางสังคม ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 3. เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมด้านจัดการทางสังคม ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 4. เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมด้านจัดการทางสังคม ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ
การเสริมสร้าง การมีส่วนร่วม ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
บทคัดย่อย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชน การสร้างเครือข่าย แนวทาง และรูปแบบที่เหมาะสมในการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมด้านจัดการทางสังคม ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย ชุมชนตำบลบ้านหนุน ชุมชนตำบลเข็กน้อย ชุมชนตำบลตาลเตี้ย ชุมชนตำบลบึงทับแรต ชุมชนตำบลโป่งแดง ชุมชนตำบลบ้านใหม่สุขเกษม ชุมชนตำบลทับกฤช ชุมชนตำบลห้วยถั่วเหนือ ชุมชนตำบลนาขุม ชุมชนตำบลบึงกระจับ ชุมชนตำบลไพศาลี ชุมชนตำบลบึงระมาณ ชุมชนตำบลแม่ยางตาล ชุมชนตำบลห้วยมุ่น ชุมชนตำบลไกรนอก ชุมชนตำบลซับสมบูรณ์ และชุมชนตำบลคลองน้ำไหล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วิจัยเชิงปริมาณ โดยทีมนักวิจัยได้พัฒนาเครื่องมือวิจัยร่วมกับพัฒนากรในเขตพื้นที่ และส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มีการดำเนินการสร้างแบบสอบถามจากการศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎี จากตำราเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม และรูปแบบที่เหมาะสมในการเผยแพร่ การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นการสนทนาแบบกลุ่ม โดยมีประเด็นปัญหาที่เจาะจงกับกลุ่มคน มีลักษณะการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เครื่องมือที่ช่วยในการจัดเสวนากลุ่ม (Focus Group) คือ เทคนิค AIC (Appreciation Influence Control :AIC) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยผลการวิจัยภาพรวมพบว่า การเสริมสร้างและการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนเครือข่าย การวิจัยเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง สามารถแบ่งประเด็นออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสนับสนุน 2) การมีส่วนร่วมด้านการแก้ไขปัญหา และ 3) การมีส่วนร่วมด้านแนวทางการพัฒนา โดยประเด็นทั้ง 3 กลุ่มนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องร่วมกันในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ ตัวบุคคล กลุ่ม ชมรม สมาคม หรือองค์กรอาสาสมัครต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสนับสนุน พบว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้เข้ามาการสร้างหลักกรมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมต่างๆ เพื่อทำให้ต่างฝ่ายได้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนไปพร้อมกัน และเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการทำกิจกรรมและการพัฒนาชุมชนของตนเองให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนับว่าเป็นหลักประกันที่สำคัญที่จะทำให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมด้านการแก้ไขปัญหา พบว่า ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการที่ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนถึงปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผน สร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนา เพื่อหาวิธีการแก้ไขและลดปัญหา ที่สำคัญคือ ร่วมกันวางนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่แท้จริง นอกจากนี้กระบวนการที่ขาดการตระหนักไม่ได้คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และนำไปสู่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล เพื่อให้โครงการและกิจกรรมได้เกิดการพัฒนา ต่อยอด และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน การมีส่วนร่วมด้านแนวทางการพัฒนา พบว่า ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งภายในและปัจจัยภายนอกชุมชน โดยเฉพาะปัจจัยภายในชุมชนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนา อันได้แก่ ด้านผู้นำชุมชน ที่เป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ซึ่งผู้นำจะต้องมีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับ มีวิสัยทัศน์ ซื่อสัตย์และเสียสละ มีการ ประสานงานที่ดีทั้งภายในและภายนอก และรองลงมาคือเครือข่ายชุมชนที่มีพลัง โดยประชาชนจะต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ การพัฒนาของตนและชุมชน มีกฎเกณฑ์และข้อตกลงในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการประสานงานทั้งภายในและภายนอกได้ดี พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้เกิดสายใยสัมพันธ์ในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในที่สุด
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. บทที่ 1
  6. บทที่ 2
  7. บทที่ 3
  8. บทที่ 4
  9. บทที่ 5
  10. บรรณานุกรม
  11. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ