ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ของสหวิชาชีพในชุมชนตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
The Inter-Disciplinary Participation in Long-term Health Care Development Model for Elderly in Mae Yang Taan Sub-district, Rongkwang District, Phrae Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ปริญญา หวันเหล็ม
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์พัฒนภาณุ ทูลธรรม อาจารย์สุเทพ คำเมฆ อาจารย์อัครพงษ์ เพ็ชรพูล
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างเครือข่ายสหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว 2. เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายสหวิชาชีพสร้างกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว 3. เพื่อเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในพื้นที่และชุมชนอื่นต่อไป
คำสำคัญ
การดูแลระยะยาว สหวิชาชีพ การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ของสหวิชาชีพในชุมชนตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่” เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายสหวิชาชีพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว 2) เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายสหวิชาชีพสร้างกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว และ 3) เพื่อเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในพื้นที่และชุมชนอื่นต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนประจำตำบลแม่ยางตาล ซึ่งมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ ข้อค้นพบที่สำคัญในการวิจัยครั้งนี้ผลการวิจัย 3 ประเด็นคือ 1. ระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวนั้น ไม่ได้ให้การดูแลเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น หากแต่รวมความถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงหรือ ติดบ้านทุกช่วงวัยร่วมด้วย 2. เป็นระบบการดูแลที่มีความร่วมมือทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค กล่าวคือเกิดความร่วมมือในระดับนโยบายอันเป็นผลมาจากบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) แบบบูรณาการในพื้นที่ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่ง ประเทศไทย และ สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย 3. ด้วยสภาพวิถีชีวิตของตำบลแม่ยางตาลที่ผูกพันกับวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นนั้น เอื้ออำนวยให้การปฏิบัติงานในระดับจุลภาคของผู้ปฏิบัติงานเกิดการมีส่วนร่วม ทำให้ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของชุมชนไปอย่างราบรื่นทั้งระบบ ซึ่งจากข้อค้นพบการวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงพลังในการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการขับเคลื่อนงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว และการนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งตำบลต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. รายงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ