ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกอย่างมีส่วนร่วมสําหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ในเขตพื้นที่ตําบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
A model of alternative education participation for disadvantaged children in education in the Huai Mun Nam pad District Uttaradit

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทาน บุญเมือง
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ อาจารย์ ดร.อุมาภรณ์ ยศเจริญ อาจารย์นันทพันธ์ คดคง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติ บดีรัฐ
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.1 สภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่ออเด็กด้อยโอกาสทาง การศึกษาเขตพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 1.2 แนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเด็กด้อย โอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ
การศึกษาทางเลือก เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนโดยการสัมภาษณ์ ผู้ปกครองและนักเรียนที่ออกกลางคันวิเคราะห์และสังเคราะห์ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2)การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 และทฤษฎีมายกร่างรูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯด้วยการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship Seminar)จำนวน 7 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ความมีประโยชน์ความเหมาะสมในการนำไปใช้และความคุ้มค่าในการลงทุนของรูปแบบรูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงจำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาสำคัญของการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยประกอบด้วย 1) ด้านนักเรียน : ครอบครัวมีฐานยากจนและไม่สนับสนุนให้ลูกได้รับการศึกษา ภาษาเป็นอุปสรรคในการเรียน และเด็กพักอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน 2) ด้านโรงเรียน : หลักสูตรไม่เหมาะสมโรงเรียนตั้งอยู่ในที่ห่างไกลจากที่พักของนักเรียนครูขาดความเข้าใจในตัวนักเรียน 2. ความต้องการที่สำคัญของนักเรียนและผู้ปกครองได้แก่ในแต่ละชุมชนมีศูนย์การเรียนย่อยและมีครู ประจำเพื่อสะดวกในการเรียน หลักสูตรมีความยืดหยุ่นสอนเฉพาะวิชาที่จะเป็นและใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน เนื้อหาวิชาควรเน้นวิชาชีพเป็นสำคัญ 3. รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนที่ สร้างขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนที่ออกกลางคัน และกลุ่มที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ หรือผู้สนใจ อย่าง ต่อเนื่อง เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สามารถนำไปเกาะเกี่ยวกับโรงเรียนปกติแต่ใช้เวลานอกราชการเป็นไปตามหลักการของทฤษฎีระบบประกอบด้วยปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับงานบุคลากร งานวิชาการ และงานบริหารทั่วไป กระบวนการเกี่ยวข้องกับ กระบวนการบริหารงานวิชาการ และบริหารงานทั่วไปโดยใช้แรงจูงใจในการขับเคลื่อนผลผลิตเกี่ยวข้อง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. สารบัญ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บรรณานุกรรม
  10. ประวัตินักวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ