ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
QUALITY OF LIFE DEVELOPMENT BASED ON SUFFICIENCY ECONOMY OF THUBPUANG COMMUNITY, SI SAMRONG DISTRICT, SUKHOTHAI PROVINCE

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.อารีย์ ปรีดีกุล
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการแนวทางในการประกอบอาชีพของชุมชน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่ออาชีพที่เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย” เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Paticipatory Action Research PAR) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการแนวทางในการประกอบอาชีพของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนชุมชนที่มีบทบาทหน้าที่ในเขตตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูลชุมชน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่ออาชีพที่เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย เป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่ออาชีพที่เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยดำเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการแนวทางในการประกอบอาชีพของชุมชน ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีหนี้สินในครัวเรือนมากทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนมีความเชื่อกับการทำไร่ยาสูบถึงแม้จะเป็นอาชีพที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และชุมชนถูกเอาเปรียบจากนายทุนและพ่อค้าคนกลาง ผลการศึกษาความต้องการแนวทางในการประกอบอาชีพของชุมชน พบว่า ชุมชนมีความสนใจในอาชีพ การปลูกกล้วย การทำกล้วยเคลือบช็อคโกแล็ตเพื่อสร้างมูลคาเพิ่ม และการทำปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ขั้นตอนที่ 2 การจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอาชีพที่เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงให้กับกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจต่ออาชีพที่เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.66) โดยมีความเห็นว่าอาชีพ“การปลูกกล้วย” เป็นอาชีพที่มุ่งเน้นการผลิตของกิน ของใช้ เพื่อลดรายจ่าย ช่วยให้ชุมชนมีความเป็นอยู่แบบ พออยู่ พอกิน 2) อาชีพ“การทำกล้วยเคลือบช็อคโกแล็ต” เป็นอาชีพที่ช่วยฝึกทักษะการร่วมมือกันแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ช่วยทำให้ครอบครัวอยู่ดี กินดี สร้างความสามัคคีให้ชุมชน 3) อาชีพ“การทำปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง” เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เกิดความมั่งมี ศรีสุข ช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีทักษะในการประกอบอาชีพ ซึ่งทั้ง 3 อาชีพสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนในเขตตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ได้อย่างแท้จริง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ 1
  3. บทที่ 2
  4. บทที่ 3
  5. บทที่ 4
  6. บทที่ 5
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. ประวัติผู้วิจัย
  10. แบบชี้แจงการปรับแก้ไข

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ