ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนสระแก้วและบ้านล่าง เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Community Based Tourism Management in Sakaew and Bhan Lang community, Pak Phanang Municipality, Nakhon Si Thammarat Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.วัชรี รวยรื่น
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์ปัจจุบันของท่องเที่ยวในชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง เทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ศึกษาองค์ความรู้ในชุมชนเพื่อนำมาใช้กำหนดกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน
คำสำคัญ
การจัดการ ,การท่องเที่ยวโดยชุมชน ,การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ,การมีส่วนร่วมของประชาชน
บทคัดย่อย
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์ปัจจุบันการท่องเที่ยวในชุมชนสระแก้วและชุมชนบ้านล่าง เทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน ประชากรที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 33 คนใช้ในการทำแบบสอบถาม ในขณะที่การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 23 คนประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โอทอปชุมชน และเจ้าของโฮมสเตย์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้และศักยภาพในชุมชนจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.78) มากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 21.21) และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 66.67) เป็นคนที่เกิดในชุมชน (ร้อยละ 84.85) พบว่า ทุกคนเห็นถึงประโยชน์ของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ร้อยละ 93-100) ในขณะที่อีกร้อยละ90.91 ได้ให้ความร่วมมือในกิจกรรมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สีเขียวของชุมชน สำหรับระดับความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับการจัดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก (3.78±0.52) สำหรับศักยภาพชุมชน การมีส่วนร่วมและผลกระทบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่า ชุมชนมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างเป็นระบบและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนได้ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดการท่องเที่ยวแต่ยังจำกัดเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น ในขณะที่การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว เพื่อตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นมีอยู่น้อย ทำให้นักท่องเที่ยวไม่เกิดความผูกพันที่จะอยากกลับมาเที่ยวซ้ำอีก ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ เป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น มีสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ชุมชนมีการประกอบอาชีพหลากหลายมากขึ้นและเศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น ในขณะที่ผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้น เช่น ก่อให้เกิดปัญหานํ้าเสีย ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ ค่าครองชีพต่างๆ ในชุมชนสูงขึ้น และคนดั้งเดิมในชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เพียงพอ ซึ่งแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น ต้องเน้นในเรื่องการรักษาเอกลักษณ์เฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะตัว และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นสังคมแบบเรียบง่ายซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ที่นักท่องเที่ยวต้องการเข้ามาสัมผัส การรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพดี การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนให้มีความต่อเนื่อง และช่วยกันการวางแผนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระยะยาว คำสำคัญ: การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วม การจัดการ ชุมชนสระแก้ว-บ้านล่าง
เอกสารงานวิจัย
  1. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนสระแก้วและบ้านล่าง เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ