ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเยาวชนติดสารเสพติด :ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
Legal knowledge management for drug juvenile addicted : A case study of Tung Na-Ngam Subdistrict Lan Sak District Uthaithanee Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.พิชญา เหลืองรัตนเจริญ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.ศึกษาพฤติกรรมการเลือกเสพสารเสพติดและสาเหตุของการติดสารเสพติดของเยาวชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 2.ศึกษาการรับรู้ขอกฎหมายของเยาวชนที่เกี่ยวกับสารเสพติดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญ
กฏหมาย,เยาวชน,ปัญหายาเสพติด,การแก้ปัญหายาเสพติด,งานวิจัยเชิงพื้นที่,ตำบลทุ่งนางาม,จังหวัดอุทัยธานี
บทคัดย่อย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกเสพสารเสพติด สาเหตุการติดสารเสพติด รวมตลอดถึงการรับรู้ข้อกฎหมายและกระบวนการเรียนรู้ด้านกฎหมายของเด็กหรือเยาวชน เพื่อนำมาสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาการติดสารเสพติดของเด็กหรือเยาวชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี โดยศึกษาจากเด็กหรือเยาวชนซึ่งปัจจุบันศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่จำนวน 100 ชุด และผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวน 100 ชุด ใช้วิธีประเมินผลเป็นค่าร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าเด็กหรือเยาวชนที่เสพสารเสพติด อาทิ เหล้า บุหรี่ มีพฤติกรรมเลือกเสพด้วยใจสมัครมิได้ถูกบังคับ สาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมหรือชุมชนที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่มีเด็กหรือเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ส่วนการรับรู้ข้อกฎหมายของเด็กหรือเยาวชนที่เกี่ยวกับสารเสพติดพบว่า เด็กหรือเยาวชนรับทราบข้อมูลจากโรงเรียน โทรทัศน์ และสื่อจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งการรับรู้ดังกล่าวมาจากการกำหนดไว้โดยกฎหมายว่าห้ามกระทำ ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ด้านกฎหมายของเด็กหรือเยาวชนจะรับรู้ข้อกฎหมายจากการบังคับโทษที่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าผิด เด็กหรือเยาวชนจะเกิดการเรียนรู้และหลีกเลี่ยงไม่ทำผิด อย่างไรก็ดีในเขตพื้นที่ดังกล่าวยังมีผู้สูบบุหรี่หรือดึ่มเหล้าในที่สาธารณะโดยหน่วยงานภาครัฐยังมิได้มีการจัดการแต่อย่างใด เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด อันจะส่งผลให้เด็กหรือเยาวชนเกิดการเรียนรู้ว่าการกระทำดังกล่าวสามารถทำได้และนำไปเป็นต้นแบบ เกิดผู้เสพหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเยาวชนติดสารเสพติดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาชญากรรมควรมีการกำหนดนโยบายคุมเข้มให้ที่สาธารณะเป็นเขตปลอดสารเสพติด โดยกำหนดเป็นข้อบังคับฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย และควรมีการกำหนดโทษผู้เสพที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5
  8. บรรณานุกรม
  9. แบบสอบถาม 1
  10. แบบสอบถาม 2
  11. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ