ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนกับภาคีเครือข่าย องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
The format, with the participation of the local administration in managing the health of the elderly in the community and the parties to the network. Subdistrict administrative organization Pong Noi DOI Luang district, Chiang Rai province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์กนกวรรณ เกิดพิน
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาสภาพ ศักยภาพในการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนกับภาคีเครือข่าย องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ
สวัสดิการ
บทคัดย่อย
ตามสถานการณ์และแนวโน้มของสังคมโลกที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย จากจำนวนประชากรโลกราว7,349 ล้านคน จะเพิ่มขึ้นเป็น 7,758 ล้านคนในปี 2563 โดยประมาณครึ่งหนึ่งจะอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย และนอกจากนี้องค์การสหประชาชาติยังได้ประเมินสถานการณ์ในช่วงปี 2544 - 2643 (ค.ศ. 2001-2100) จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 13.8 ในปี 2563 และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, 2559) ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หากพิจารณาจากคำจำกัดความที่ว่าสังคมผู้สูงอายุ คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีสัญชาติไทย (พระราชบัญญัติผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2546, 2546) หรือมีประชาชนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จึงถือได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี 2548 เนื่องมาจากมีประชากรตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 10.4% และยังคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ดังนั้นการเตรียมการเพื่อรองรับสภาวการณ์การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นยิ่งต่อทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงมีการกำหนดนโยบายต่างๆ ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ดังเช่นแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 สอดคล้องกับสาระสำคัญในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ 2546 ถึงการให้สิทธิ การคุ้มครองและการสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ การบริการด้านการศึกษา การส่งเสริมอาชีพการทำงานให้เหมาะสมกับวัยและให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคม และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตามยุทธ์ศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ อาทิเช่น การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นหลังผ่านศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน เป็นต้น นโยบายผู้สูงอายุแพร่กระจายไปในหลายประเทศแถบทวีปเอเซียที่มีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งต่างพยายามกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งด้านสวัสดิการ การสังคมสงเคราะห์ การสาธารณสุข การบริการสาธารณะและการศึกษา ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ชะลอภาวะสมองเสื่อม และป้องกันโรคซึมเศร้า รวมถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (Ministry of Information and Communication: MIC) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการใช้ไอซีทีของเกาหลี (KADO) จัดโครงการการศึกษาไอซีทีเพื่อผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป (ICT Education for the Elderly) โดยร่วมมือกับภาคเอกชน วิทยาลัย ศูนย์สวัสดิการสังคม และศูนย์สวัสดิการผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ เพื่อฝึกอบรมทักษะไอซีทีแก่ผู้สูงอายุ เป็นเวลา 20-30 ชั่วโมง และประเทศไต้หวัน โดยเมื่อต้นปี ค.ศ.2008 กระทรวงศึกษาธิการไต้หวัน ได้ประกาศเพิ่มงบประมาณจำนวน 46.54 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (NT$) เพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จาก ค.ศ.2007 และก่อนหน้านี้ กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning centers) และศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงอายุ (grey-haired learning centers) ในมณฑลต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้หลายประเทศให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงประเทศไทยที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ โดยการพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อเป็นให้เกิดต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านหลักสูตร กิจกรรมฝึกอบรม และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน เช่น สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันอาชีวศึกษาจัดโครงการและกิจกรรมเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ เช่น สอนอินเทอร์เน็ต ภาษาอังกฤษ ทักษะอาชีพตามความสนใจ รวมถึงให้ผู้สูงวัยมีส่วนใช้ประสบการณ์และใช้เวลาว่างในการดูแลและพัฒนาสังคม เช่น การช่วยดูแลเด็กเล็กด้อยโอกาสในชุมชน การปันประสบการณ์และความรู้เป็นวิทยาทานผ่านรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ลดภาวะโรคซึมเศร้า และมีความสุข (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2551) ศูนย์สุขภาวะ ตามคำนิยามตาม ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการอำนวยการโครงการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า "ที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางของคนรักสุขภาพ เป็นต้นแบบของบุคคล องค์กร ชุมชน ที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงในสังคมและลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น เริ่มต้นจากการสร้างแรงบันดาลใจ เริ่มจากความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม มองเห็นว่าความสุขเริ่มจากคนและวิธีคิดของคน ไม่ใช่รอผู้ใดนำมาให้" (ออนไลน์) ดังจะกล่าวได้ว่าศูนย์สุขภาวะเป็นทั้งแหล่งการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ จึงเป็นสถานที่สำคัญในการเป็นแหล่งสร้างคุณค่าให้กับผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุและถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และประสบการณ์ของผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็ง จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นขององค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย จังหวัดเชียงราย พบว่า บริบทการจัดการพื้นที่ศูนย์สุขภาวะของในพื้นที่มีความเฉพาะตัว ความโดดเด่น รวมถึงความแตกต่างที่หลากหลาย ทั้งการบริหารจัดการของพื้นที่ ตั้งแต่การมีเป้าหมายในการพัฒนา การบริหารทรัพยากร การประสานงานเครือข่าย และการแบ่งงานตามบทบาทโครงสร้างของการเป็นพื้นที่ศูนย์สุขภาวะตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งยกระดับสุขภาวะของผู้สูงวัย ด้วยการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่จึงยังขาดแนวทางการจัดการในการที่เป็นมุ่งจัดการในพื้นที่ร่วมกันของภาคีเครือข่าย ขาดการบริหารทรัพยากรที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขาดการประสานงานเครือข่ายและการแบ่งงานตามบทบาทตามโครงสร้างสู่การเป็นพื้นที่ศูนย์สุขภาวะ ซึ่งทั้งนี้เป็นไปตามปัจจัยภายในและภายนอกในการสนับสนุนการขับเคลื่อนของศูนย์สุขภาวะ ทั้งบริบทพื้นที่ ศักยภาพของชุมชน การจัดการด้านความรู้ การจัดการองค์กร ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมไปถึงการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลสะท้อนที่สำคัญที่ทำให้เห็นช่องว่างในกระบวนการขับเคลื่อนกลไกในการทำงาน และรูปแบบในการจัดการสุขภาวะของพื้นที่ที่ขาดหายไป จึงทำให้การดำเนินการด้านสุขภาวะของผู้สูงวัยไม่มีความชัดเจน และยังไม่มีรูปแบบในการจัดการที่เข้มแข็งและประสบผลในการดำเนินงาน ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจจะศึกษางานวิจัย เรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดการสุขภาวะของผู้สูงวัยในชุมชนกับภาคีเครือข่าย เพื่อจะนำไปสู่รูปแบบการจัดการของศูนย์สุขภาวะของผู้สูงอายุที่เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุ ดอยหลวง
  2. รายงานฉบับสมบูรณ์
  3. ปก
  4. สารบัญ
  5. สารบัญภาพ
  6. บทคัดย่อ
  7. กิตติกรรมประกาศ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ