ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ พื้นที่ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
Approaches for Organizing the Local Arts and Cultural Activities for Elderly Health Promotion in Ban Yang Sub-district Area, Phutthaisong District, Buriram Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวชลาลัย วงศ์อารีย์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จ.บุรีรัมย์ 2. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อสร้างกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้สูงอายุ 3. เพื่อหาแนวทางในการสร้างกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เหมาะกับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่นและช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ , ส่งเสริมสุขภาพ, กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม, ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่องแนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พื้นที่ตำบล บ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบริบทผู้สูงอายุในชุมชนและนำมาเป็นแนวคิดในการหาแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ที่เน้นการออกกำลังกายและการผ่อนคลายความเครียดด้วยนาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยแบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สร้างโจทย์งานวิจัย ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเอกสารและข้อมูลเชิงพื้นที่ ระยะที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่นและความต้องการของชุมชน และนำมาออกแบบกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ระยะที่ 4 นำผลงานวิจัยลงพื้นที่ในหลักสูตรการเรียนรู้ โรงเรียนผู้สูงอายุ อบต.บ้านยาง และระยะที่ 5 การถอดบทเรียน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการวิจัยระหว่างผู้วิจัย นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีความสนใจในดนตรี การรำ การร้องสรภัญญะ และมีความศรัทธาในหลวงพ่อขาว วัดเทพรังสรรค์ วัดประจำหมู่บ้าน ผู้วิจัยจึงสร้างสรรค์บทสรภัญญะเพื่อเล่าตำนานหลวงพ่อขาว พร้อมกับออกแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหว 4 กิจกรรม ได้แก่ เพลงนำพา ท่าพื้นฐาน ประสานท่วงที มีลีลางามสง่าผู้สูงวัย ซึ่งเมื่อนำกิจกรรมลงพื้นที่ พบว่าผู้สูงอายุให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม มีความกระตือรืนร้นและแสดงอารมณ์สนุกสนานตลอดการทำกิจกรรมเคลื่อนไหว และจากการทำแบบประเมินพบว่าระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม มีระดับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน ดังนั้นจึงควรมีการนำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมไปพัฒนาเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอื่นต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทคัดย่อ
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. สารบัญ
  4. สารบัญตาราง
  5. สารบัญรูปภาพ
  6. บทที่ 1 บทนำ
  7. บทที่ 2
  8. บทที่ 3
  9. บทที่ 4
  10. บทที่ 5
  11. บทที่ 6
  12. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ