ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย กรณีศึกษาตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
Problems, Needs and Guidelines to Development for Teacher Leaning Management : A Case Study of Nhongplalai, Wangsaipoon, Phijt Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชญานิษฐ์ ศศิวิมล อาจารย์ ดร.พรทิพย์ ครามจันทึก
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) บนฐานการจัดการเรียนรู้แบบชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Communities : PLC) กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร 2 เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) บนฐานการจัดการเรียนรู้แบบชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Communities : PLC) กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร 3 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) บนฐานการจัดการเรียนรู้แบบชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Communities : PLC) กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ
ปัญหา, ความต้องการจำเป็น ,แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ของครู, สะเต็มศึกษา ,ชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย กรณีศึกษา ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร มีดังนี้ 1.1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยการศึกษาเอกสาร พบว่า ปัญหาประกอบด้วย 1) มีปัญหาด้านการวิเคราะห์หลักสูตร 2) มีปัญหาด้านเทคนิคการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เช่น การใช้เกม การเล่านิทาน การร้องเพลง 3) มีปัญหาด้านเทคนิคการเตรียมเด็ก 4) มีปัญหาด้านเทคนิคการเก็บเด็ก 5) มีปัญหาด้านการจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ 6) มีปัญหาด้านการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 7) มีปัญหาด้านการออกแบบการเรียนรู้และเทคนิคการเรียนรู้ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความเห็นตรงกัน คือ มีสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะเทคนิคและประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก ความรู้และความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ควรหาแนวทางในการแก้ไข 1.2) การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า ความรู้พื้นฐานของครูยังมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องหลักสูตรสถานศึกษา จึงไม่สามารถวิเคราะห์รูปแบบของการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับตัวบ่งชี้และมาตรฐานของหลักสูตรที่กำหนดไว้ และครูมีความต้องการให้ผู้วิจัยไปดำเนินการอบรมด้านหลักสูตรและการจัด ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับตัวบ่งชี้และมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และ 1.3) การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยการสอบถาม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะเทคนิคและประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก ความรู้และความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัย ความรู้ความเข้าใจวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตรปฐมวัย เทคนิคและประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก และความรู้และความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ควรหาแนวทางในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ได้แก่ 1.การวิเคราะห์หลักสูตร 1.1) อบรมให้ความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาปฐมวัย มาอธิบายและทำความ เข้าใจในเรื่องหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตร และโครงสร้างหลักสูตร 1.2) ฝึกทักษะในการจัดทำหลักสูตร วิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตร และ โครงสร้างหลักสูตร 2.เทคนิคการจัดประสบการณ์เรียนรู้ 2.1) จัดผู้เชี่ยวชาญมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางต่อไป 2.2) อบรมการฝึกเทคนิคการจัดประสบการณ์แก่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.3) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคใหม่ ๆ ที่ไม่จำเจในการจัดประสบการณ์ 3.เทคนิคการเตรียมเด็ก 3.1) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจ และเครื่องมืออื่น ๆ ในการเตรียมเด็ก 3.2) จัดให้ผู้มีประสบการณ์ทางด้านจิตวิทยาในการโน้มน้าวเด็กให้พร้อมต่อการจัดประสบการณ์ 4.เทคนิคการเก็บเด็ก 4.1) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเทคนิคใหม่ ๆ ในการเก็บเด็ก 4.2) อบรมฝึกทักษะและกระบวนการในการเก็บเด็ก 5.การจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ 5.1) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจและแนะนำการจัดมุมประสบการณ์ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของเด็ก 5.2) อบรมฝึกทักษะวิธีทำสื่อการจัดมุมประสบการณ์ด้วยตนเอง 6.การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 6.1) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจและเรียนรู้กระบวนการในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ 6.2) อบรมฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ด้วยตนเอง 6.3) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรียนรู้การประเมินพัฒนาการเด็กตามมาตรฐานและตัวชี้วัด 7.การออกแบบการเรียนรู้และเทคนิคการเรียนรู้ 7.1) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในพัฒนารูปแบบและเทคนิคการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. บทนำ
  6. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  7. วิธีการดำเนินการวิจัย
  8. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  9. อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  10. บรรณานุกรม
  11. ประวัตินักวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ