ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการ ดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
Problems,Needs and Guidelines for Community Welfare To Carring Elderly Person : A Case Study of Klongpikrai, Prankratai, Khampheanghet Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชญานิษฐ์ ศศิวิมล อาจารย์ ดร.พรทิพย์ ครามจันทึก
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, ปัญหา, ความต้องการจำเป็น ,แนวทางการดำรงชีวิต
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นและแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษา ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินงานโดยคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาความต้องการความจำเป็นการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุ จำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาปัญหาการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหา 1.1) ด้านการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวจำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน 1.2) ด้านรายได้ผู้สูงอายุ อยากมีอาชีพและมีรายได้พอเลี้ยงชีพ 1.3) ด้านสวัสดิการผู้สูงอายุไม่เพียงพอ 1.4) ด้านการได้รับการดูแลที่ไม่มีคุณภาพ 1.5) ด้านการมีจิตอาสาที่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการในการดำรงชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ผลการศึกษาแนวทางการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีข้อเสนอแนวทางการดำรงชีวิต ดังนี้ 3.1) ควรมีการจัดเป็นชมรมผู้สูงอายุให้เกิดความเข้มแข็ง 3.2) ควรเน้นการจัดกิจกรรมเชิงศาสนา 3.3) ควรเน้นกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสร้างและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้พบปะเข้าสังเคราะห์กับกลุ่มผู้สูงอายุ 3.4) ควรเน้นกิจกรรมที่ลดภาวการณ์ซึมเศร้าเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง 3.5) ควรหาวิธีการเชิญชวนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน 3.6) ควรให้มีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุและมีการจัดกิจกรรในแต่ละเดือนที่มีความหลากหลายและไม่จำกัดจำนวนของผู้สูงอายุ 3.7) ควรจัดสวัสดิการให้ผู้ป่วย ให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยและอาสาสมัครในหมู่บ้าน 3.8) ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุให้เต็มที่ 3.9) ควรจัดหาอาชีพให้อาสาสมัครในหมู่บ้านที่เฝ้าดูแลผู้สูงอายุ 3.10) ควรดูแลเรื่องสุขภาพจิตให้แก่อาสาสมัครในหมู่บ้านที่เฝ้าดูแลผู้สูงอายุ 3.11) ควรสร้างความตระหนักให้กับครอบครัวและสร้างจิตสำนึกให้กับลูกหลานให้ความร่วมมือในการดูแลผู้สูงอายุ 3.12) ควรให้ความรู้ก่อนจะให้สิ่งของมาสร้างอาชีพ 3.13) ควรจัดเครื่องมือทางการแพทย์ต้องให้ได้มาตรฐาน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ คำนำ
  4. สารบัญ
  5. บทที่ 1 บทนำ
  6. บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  7. บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย
  8. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  9. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  10. 6 บรรณานุกรม
  11. 7 ประวัตินักวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ