ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านด่าน ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์พัชราภรณ์ จันทรฆาฏ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านด่าน ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 2. เพื่อพัฒนาต้นแบบในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสบกับชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม 3. เพื่อจัดทำสื่อที่ใช้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่นักท่องเที่ยวและสาธารณะ 4. เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนส่วนรวม
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา,การท่องเที่ยวเชิงเกษตร,การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประกอบไปด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านด่าน หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม หมู่ที่ 3 บ้านไทยสามารถ หมู่ที่ 4 บ้านตุ่น หมู่ที่ 5 บ้านโรงเรียน หมู่ที่ 6 บ้านกุดม่วง หมู่ที่ 7 บ้านสุขมงคล ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับเนินดินสูงต่ำประปราย สภาพโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย อากาศร้อนชื้น มีประวัติความเป็นมา ก่อตั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งด่าน ที่สะพานคลองวัดด่าน ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า คลองพรมโหด คนกลุ่มแรกที่อพยพมาอยู่ คือ หลวงอภัย อุภัยพันธ์ โดยได้นำลูกๆ และญาติมาตั้งถิ่นฐาน ต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงมีการแยกบ้านด่านเป็น 2 หมู่บ้าน อดีตตำบลบ้านด่านขึ้นกับตำบลเมืองไผ่ ตำบลบ้านใหม่หนองไทร ปัจจุบันมีจำนวน 7 หมู่บ้าน 1 ชุมชน โดยตำบลบ้านด่านมี เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะ หมู่ที่ 4 บ้านตุ่น ชุมชนผสมผสานระหว่าง 2 ประเทศไทยและกัมพูชา เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการทำขนมพื้นเมืองสำหรับทำบุญถวายพระ ข้าวต้มสามเหลี่ยม ข้าวต้มใบมะพร้าว ข้าวต้มหมู ทำในงานมงคลงานสำคัญต่างๆ ส่วนผสมสำคัญ มีข้าวเหนียว น้ำด่าง ทำจากเปลือกนุ่นเอามาเผา นำไปหุงข้าวเหนียวช่วยให้ข้าวเหนียวมีรสชาติมันและกลิ่นหอม ห่อด้วยใบไผ่ ใบเตย หรือใบตอง นอกจากนี้ยังมีที่พักรูปแบบโฮมสเตย์ทั้งหมด 10 หลัง ใช้วิธีการเปลี่ยนหมุนเวียนการไปสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพัก กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว ตอนเช้า ตื่นมาทำบุญที่วัด ทำบุญตักบาตรด้วย ข้าวต้มสามเหลี่ยม ข้าวต้มใบมะพร้าว ข้าวต้มหมู โดยเอาไปต้มให้สุก ทุกคนที่ไปทำบุญจะเด็ก ผู้ใหญ่ใส่ชุดขาว เตรียมดอกไม้ อาหารคาว อาหารหวานไปวัดวันทุกวันพระ กิจกรรมเรียนรู้ต่อไป การดำนา สาธิตและลงมือปฏิบัติขั้นตอนการดำนา แยกต้นข้าวกล้า 3 ต้น และกดลงโดยใช้นิ้วโป้งกดต้นข้าวลงไปในนาข้าว กิจกรรมตอนเย็น ทำอาหาร ผักตวง มีกลิ่นฉุน รสเผ็ด ข้าวคั่ว กะปิหรือปลาร้า ประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ สระแก้ว มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่างๆ เช่นการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ตามโครงการ “รักน้ำ รักป่า รักแผ่นดิน 70 ปี ครองราชย์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559 (ภาพที่ 1) ที่บริเวณฝายแก้มลิง บ้านหนองขาม ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และยังร่วมกันสร้างแนวคิดที่จะพัฒนาตำบลบ้านด่าน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องมาจากสภาพได้เปรียบเชิงพื้นที่ คือเป็นตำบลที่เป็นทางผ่านในการเดินทางเข้าสู่ตลาดโรงเกลือและด่านอรัญประเทศ ตามถนนสุวรรณสร (หมายเลข 33) ทั้งนี้ข้อได้เปรียบเชิงพื้นที่ประเด็นสำคัญคือตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ยังตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย ไทย 1 ใน 5 จังหวัด 6 พื้นที่ ซึ่งตั้งขึ้นรองรับ AEC เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่อำเภออรัญประเทศ และวัฒนานคร มีด่านอรัญประเทศเป็นจุดผ่านแดนเชื่อมต่อจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา ผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนทุกหมู่บ้านจึงร่วมมือกันที่จะพัฒนาท้องถิ่นของนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อีกทั้งยังรวมกลุ่มกันในการผลิตสินค้า OTOP โดยกลุ่มครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อใช้ข้อได้เปรียบดังกล่าวมาสร้างรายได้ และพัฒนาชุมชนไปสู่ความมีเสถียรภาพของท้องถิ่น ทั้งที่ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ยังส่งปัญหาอย่างต่อเนื่องในฤดูร้อนของทุกๆปี ทำให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยลง การรวมกลุ่มกันทางสังคมของสมาชิกชุมชนจึงเกิดขึ้น และพยายามแสวงหารายได้เพิ่มเติมจากผลิตทางการเกษตรรูปและอื่นที่ลดการใช้น้ำให้น้อยลง อีกทั้ง ยังผลิตสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว โดยจะจำแนกได้เป็นรายหมู่บ้านทั้ง 7 หมู่บ้านดังนี้ ชุมชนในหมู่ที 1 และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ สระแก้ว เริ่มสร้างแนวคิดในการปลูกต้นไม้สวยงามเพื่อการส่งเสริมให้เกิดการเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต โดยร่วมกับปลูกต้น สุพรรณิการ์ ต้นชมพูพันทิพย์ และ ต้นกัลปพฤกษ์ ตามถนนบ้าง แต่ยังขาดความต่อเนื่องและความหนาแน่น อีกทั้งยังขาดการดูแลเอาใจใส่ และสนับสนุน จึงทำให้ไม้พันธุ์ดังกล่าวยังไม่เจริญเติบโตสวยงามและยังมีการส่งเสริมการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ อีกด้วย กิจกรรมของหมู่ 2 บ้านหนองขาม หมู่บ้านหนองขาม เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่แก้มลิง และลำน้ำพรมโหด จึงทำให้ชุมชนในหมู่บ้านนี้ ปลูกผักปลอดสารพิษซึ่งเป็นพืชผักสวนครัวประเภทต่างๆ จัดจำหน่ายในชุมชน และส่งออกไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านนี้ (ภาพที่ 2) กิจกรรมของหมู่ 3 บ้านไทยสามารถ หมู่บ้านนี้ มีผู้นำหมู่บ้านคือ ร้อยตรีเหรียญชัย ทำการส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์จาก พืชและสมุนไพรในท้องถิ่น เช่นแชมพูสระผม น้ำยาล้างจาน น้ำส้มควันไม้ และอื่นๆ เพื่อขายนักท่องเที่ยวและจัดจำหน่ายในชุมชน ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรกร และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้แก่สมาชิกชุมชนที่มีความสนใจ กิจกรรมของหมู่ 4 บ้านตุ่น บ้านตุ่นมีอยู่ชิดกับวัด ที่มีศิลปะแบบเขมร อีกทั้งเป็นชุมชนที่มีบ้านเรือนไม้เก่าจำนวนมาก สมาชิกในชุมชนจึงมีการพัฒนาจัดเป็นบ้านพักแบบโฮมสเตย์ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 10 หลังคา ที่เน้นให้นักท่องเที่ยวเข้ามา สัมผัสบรรยากาศพื้นบ้านการตักบาตร และรับประทานอาหารจากท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรมดำนา กิจกรรมของหมู่ 5 บ้านโรงเรียน ไม่พบกิจกรรมที่เด่นพิเศษ กิจกรรมของหมู่ 6 บ้านกุดม่วง หมู่บ้านที่มีการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ ทดแทนการปลูกข้าวและการเกษตรที่ต้องใช้น้ำในปริมาณมาก กิจกรรมของหมู่ 7 บ้านสุขมงคล เช่นเดียวกับหมู่ที่ 4 สมาชิกในหมู่บ้านนี้พัฒนาเป็นบ้านพักแบบโฮมสเตย์ บริบทชุมชนท้องถิ่น 2.1 ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ที่ตั้งและอาณาเขต เทศบาลตำบลบ้านด่านเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ 122 หมู่ 5 ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27120 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสระแก้ว ห่างจากตัวจังหวัดสระแก้วประมาณ 50 กิโลเมตร เทศบาลตำบลบ้านด่านอยู่ติดกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบ้านด่าน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภออรัญประเทศประมาณ 7 กิโลเมตร อาณาเขตแสดงขอบเขตของเทศบาลตำบลบ้านด่าน ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลหนองสังข์ และ ตำบลหันทราย ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลเมืองไผ่ และ ตำบลคลองทับจันทร์ ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลบ้านใหม่หนองไทร และ ตำบลป่าไร่ ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร เนื้อที่ ตำบลบ้านด่าน มีเนื้อที่ประมาณ 42.57 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 26,606 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับเนินดินสูงต่ำประปราย สภาพโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย อากาศร้อนชื้น ประชากรมีการตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มหมู่บ้าน ชุมชน 2.2 ข้อมูล /บริบทชุมชน ประวัติความเป็นมา ตำบลบ้านด่าน ก่อตั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งด่าน ที่สะพานคลองวัดด่าน ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า คลองพรมโหด คนกลุ่มแรกที่อพยพมาอยู่ คือ หลวงอภัย อุภัยพันธ์ โดยได้นำลูกๆ และญาติมาตั้งถิ่นฐาน ต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงมีการแยกบ้านด่านเป็น 2 หมู่บ้าน อดีตตำบลบ้านด่านขึ้นกับตำบลเมืองไผ่ ตำบลบ้านใหม่หนองไทร ปัจจุบันมีจำนวน 7 หมู่บ้าน 1 ชุมชน เทศบาลตำบลบ้านด่าน มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 โดยมี นายสำริทธิ์ พยุหสิทธิ์ กำนันตำบลบ้านด่าน เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง) คนแรก และได้รับการ ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านด่าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 2.3 ทุน/ศักยภาพชุมชน พื้นที่ เป็นตำบลพื้นที่ 1 ใน 4 ของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เรื่องกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้ท้องที่ตำบลท่าข้าม ตำบลบ้านด่าน ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ และตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว” (กระทรวงมหาดไทย,2558) โดยในตำบลบ้านด่าน มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำห้วยพรมโหด ,คลองยาง ,คลองกุดม่วง ,คลองสะเดา และคลองขี้ตุ่น ส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม มีกลุ่มสำหรับปลูกข้าวไรเบอรี่ กลุ่มทำเสื่อกก มีกลุ่มสตรีทำไม้กวาด มีโรงงานอุตสาหกรรม 1แห่ง คือ บริษัทไทยอาร์ตบอร์น แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 2.4 ประเด็นบ่งชี้ สภาพปัญหาที่ควรได้รับการพัฒนา/แก้ไข 1.ขาดความรู้ด้านการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไม่มีความรู้ในการเพิ่มจำนวนผลิตผลทางการเกษตรแบบลดต้นทุน เรื่องการใช้ปุ๋ย ขาดความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ไม่มีศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร ไม่มีพันธ์พืชที่ดี ไม่มีแหล่งทรัพยากรด้านสัตว์น้ำ 2.ขาดแคลนแหล่งน้ำทำการเกษตร แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีน้อยไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะหมู่ที่ 3 มีการทำการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรถึง 90% ของพื้นที่ ไม่มีแหล่งน้ำที่ยั่งยืนในการประกอบอาชีพในการเกษตร คลองตื้นเขินน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร สำหรับหมู่ที่ 2 ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติคลองพรมโหด ประสบปัญหาน้ำท่วม ไม่มีท่อระบายน้ำ ในฤดูฝน 3.ขาดตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตและสินค้าการเกษตร ไม่มีการกำหนดราคากลาง ทำให้สินค้าทางการเกษตรมีปัญหาด้านการกดราคาขายและราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น ข้าว มันสำปะหลังและพริก มีกลุ่มหัตถกรรมทำไม้กวาด พรมเช็ดเท้า ทอเสื้อกก แต่มีปัญหาไม่มีตลาดที่แน่นอนในการรับผลิตภัณฑ์ไปจัดจำหน่าย 4.ขาดแคลนเส้นทางคมนาคมในหมู่บ้าน ไม่สะดวกขาดแคลนถนนลาดยางในหมู่บ้าน การจราจรลำบากในช่วงฤดูฝนเป็นอย่างมาก 5.ขาดแคลนแหล่งเงินทุนสำหรับลงทุนด้านการเกษตร 2.5 แนวทางการพัฒนา / แก้ไข ด้วยกระบวนการวิจัย (ชุมชน) 1.การพัฒนาด้านการศึกษา การสาธารณสุข การจัดให้มีความมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติด อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนาส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ การพัฒนาด้านการแก้ไขปัญหาความอยากจนและการกระจายรายได้ การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย พัฒนาทักษะฝีมือ ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน และมีรายได้ที่มั่นคง พัฒนาและสนับสนุนสวัสดิการเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส 2.การวางระบบชลประทานเพื่อการเกษตร ส่งเสริมการปลูกพืชปลอดสารพิษ การปลูกพืชสมุนไพร การพัฒนาคุณภาพดิน พัฒนาคุณภาพสินค้า ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การเกษตรกรรมครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมให้มีตลาดเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายสินค้าการเกษตร 3.พัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ 4.ยกระดับคุณภาพด้านบริการพื้นฐาน การพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา สะพาน ทางเดินเท้า และจัดระบบการคมนาคมให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย เช่น ป้ายบอกเส้นทาง ไหล่ทาง สัญญาณไฟบริเวณทางแยกต่างๆ และย่านชุมชน ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งเสริมการดำรงชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตามแนวชายแดน แก้ไขปัญหาสังคมและความเดือดร้อนของประชาชน 5.เน้นการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยปรับการบริหารงานให้เหมาะสม พัฒนาบุคลากร ปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติราชการ รณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนตื่นตัวถึงความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ผู้นำท้องถิ่น บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม
เอกสารงานวิจัย
  1. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านด่าน ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ