ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชน บ้านโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
Management of Water Quality on Sufficiency Economy Principle in Koksabang Community, Thakarm, Aranyapratath, Srakeaw.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ ศรีปูณะ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาน้ำและความต้องการพัฒนาการจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน บ้านโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 2. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 3. เพื่อปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้การจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 4. เพื่อทำแผนขยายผลการพัฒนาการจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่ระดับตำบลและอำเภอ ในจังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ
การจัดการ,คุณภาพน้ำ,น้ำอุปโภคบริโภค,หลักเศรษฐกิจพอเพียง
บทคัดย่อย
สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปมีแนวโน้มทำให้เกิดปัญหาปริมาณและคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคในชุมชน จึงควรเพิ่มความสามารถในการจัดการน้ำให้มีคุณภาพโดยชุมชน งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาสภาพ ปัญหาน้ำและความต้องการพัฒนาการและทำแผนพัฒนาการจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน บ้านโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยเก็บข้อมูลจากผู้นำชุมชนและประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือนและตัวแทนคุ้มต่างๆในชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการน้ำอุปโภคหรือน้ำใช้ในชุมชน เป็นน้ำประปาหมู่บ้านที่ชุมชนผลิตจากสระเก็บน้ำธรรมชาติที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ขนาดพื้นที่ 6 ไร่แหล่งน้ำมาจากน้ำฝนและมีการเปิดรับน้ำจากแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆเติมเข้าไปในสระในช่วงฤดูแล้งเพราะน้ำมีความใสและเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อผลิตน้ำประปาเพียงพอ มีคณะกรรมการน้ำประปาหมู่บ้านจำนวน 6 คน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพโดยการเติมสารส้มและคลอรีน ปัญหาคือในฤดูฝนน้ำขุ่นจึงไม่เปิดรับน้ำเข้าสระแต่ปริมาณน้ำฝนก็เพียงพอ ยกเว้นฤดูแล้งที่ต้องเปิดรับน้ำจากแม่น้ำเพิ่มเติมในสระที่เป็นแหล่งน้ำดิบ แต่ไม่เคยมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทั้งจากแหล่งน้ำต้นทางและน้ำใช้ปลายทางที่ครัวเรือน ส่วนน้ำบริโภคหรือน้ำดื่มพบว่าไม่มีการใช้น้ำดื่มจากแหล่งน้ำผิวดิน แต่ใช้น้ำจากน้ำฝนโดยการใช้โอ่งใหญ่หรือถังเก็บน้ำขนาดใหญ่เก็บน้ำฝนไว้ดื่ม คิดเป็นร้อยละ 78 ของจำนวนครัวเรือน ที่เหลือซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากนอกชุมชน ปัญหาของน้ำดื่มคือการขาดแคลนน้ำไม่สามารถพึ่งตนเองได้ บางครอบครัวต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำดื่มเฉลี่ย 200-1,000 บาทต่อเดือนโดยขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ปีที่ฝนแล้งทางอำเภอได้ช่วยจัดหาน้ำดื่มมาบรรจุในถังน้ำสาธารณะให้ ส่วนน้ำฝนที่รองไว้ดื่มไม่เคยมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำว่าสะอาดปลดภัยเพียงใด ชุมชนจึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคสม่ำเสมอ และต้องการเรียนรู้การตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยวิธีการที่คนในชุมชนสามารถทำได้เอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเองได้ และต้องการปรับปรุงระบบการทำน้ำประปาให้ได้มาตรฐานความสะอาดตลอดเส้นทางของการผลิตจากสระน้ำ กระบวนการผลิต และขั้นการใช้นำในครัวเรือนที่ต้องรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนแผนพัฒนาการจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชน บ้านโคกสะแบง ได้ร่วมกันสรุปแผนการพัฒนาเป็น 3 แผน คือ 1) แผนการเรียนรู้การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ 2) แผนการปรับปรุงคุณภาพการผลิตน้ำประปา 3) แผนการพัฒนาการเก็บน้ำฝนไว้ดื่มให้สะอาดและเพียงพอตลอดปี
เอกสารงานวิจัย
  1. การจัดการคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชน บ้านโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ