ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
Community Participatory Economic Development Using Organic Agriculture Systems in Nong He Sub-district, Nong He District, Roi Et Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ดนยา สงครินทร์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อขยายผลไปยังเกษตรกรเป้าหมาย 2. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ
เศรษฐกิจชุมชน, เกษตรอินทรีย์
บทคัดย่อย
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Agriculture : IFOM) ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็น “ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจโดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดินการเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืชสัตว์และนิเวศการเกษตรเกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์เช่นปุ๋ยสารกำจัดศัตรูพืชและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์และในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาความต้านทานโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง” หลักการเกษตรอินทรีย์จึงเป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมภูมิอากาศและวัฒนธรรมของท้องถิ่นเนื่องจากก่อให้เกิดผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษและช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินมีหลักการของการอยู่ร่วมกันและพึ่งพิงธรรมชาติทั้งบนดินและใต้ดินใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเห็นคุณค่าและมีการอนุรักษ์ให้อยู่อย่างยั่งยืนนอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบเป็นองค์รวมและความสมดุลที่เกิดจากความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศทั้งระบบ ภาครัฐและเอกชนไทยเริ่มตื่นตัวที่จะพัฒนาสินค้าเกษตรของไทยให้มีคุณภาพและปราศจากสารพิษตกค้างหลังจากที่กลุ่มประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรของไทยเริ่มตรวจสอบคุณภาพสินค้าอย่างเข้มงวดเนื่องจากพบว่ามีสารเคมีปนเปื้อนซึ่งสร้างความเสียหายให้กับภาคเกษตรอย่างมากทางภาครัฐจึงรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งแบ่งการผลิตได้เป็น 2 แบบคือ 1. เกษตรอินทรีย์แบบพื้นบ้านผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักและมีการนำผลผลิตบางส่วนไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นแต่ผลผลิตนี้จะไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน2. เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เป็นการทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายผ่านทางระบบตลาด และหากตรารับรองมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานจากต่างประเทศ จะทำให้ผลผลิตสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ด้วย เกษตรอินทรีย์ของไทยยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มแรก กลุ่มผู้ทำการเกษตรอินทรีย์ยังมีจำนวนจำกัด จากข้อมูลของสหกรณ์กรีนเนท พบว่าพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.14 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดภายในประเทศ พื้นที่ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่าชุมชนซึ่งมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทางการเกษตร โดยการทำนาเป็นหลัก และมีการปลูกมันสำปะหลัง และทำการปลูกผักสวนครัวเพื่อขาย เกษตรส่วนใหญ่ยังพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกในด้านของเทคโนโลยี สารเคมี ปุ๋ยเคมี ในการเกษตร วิถีการผลิตในรูปแบบนี้ได้ส่งผลกระทบทั้งต่อวิถีชีวิต และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ทำให้เทศบาลตำบลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิถีการผลิตของคนในพื้นที่ผ่านนโยบายส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้กับเกษตรกร ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางของเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นดังนั้นในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อคนในชุมชนมีอาหารปลอดภัยและพัฒนาเศรษฐกิจใจพื้นที่ให้ยั่งยืนต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ