ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดา อาเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Local Participation in the Development of Community Welfare Database for Tumbon Mekdum community welfare Phibun Mangsahan Phayakkhaphum District, Maha Sarakham Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วริดา พลาศรี
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทพื้นที่วิจัย และกองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดำ อำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 4.2 เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นตาบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 4.3 เพื่อการอบรมและความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นตาบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น, การพัฒนาระบบฐานข้อมูล, กองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดำ
บทคัดย่อย
โดยทั่วไปของตาบลเม็กดา พื้นที่โดยทั่วไปส่วนใหญ่สภาพเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าว เป็นที่ป่าสาธารณะประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรม มีลาห้วยหนึ่งสาย คือ ห้วยลาพังชู ซึ่งเหมาะแก่การเหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นแหล่งกาเนิดของต้นน้าลาธารของแม่น้ามูล ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ผลผลิตที่สาคัญได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งสามารถสร้างรายได้หลักของตาบล รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์การจักรสาน การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ นอกนั้นประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมได้แก่ รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ ด้านการค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กประเภทขายของเบ็ดเตล็ด และขายของชา ซึ่งให้บริการภายในชุมชน ผลิตภัณฑ์ของตาบล ประกอบไปด้วย ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของตาบลเม็กดา ผลิตภัณฑ์ทางด้านจักรสาน ของกลุ่มจักรสานซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทารายได้ให้กับประชากรของตาบล การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบางส่วน โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ และมีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจด้านการเกษตร ผู้ที่ต้องการเข้ามาศึกษาเรียนรู้ทั้งในและนอกพื้นที่ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ หรือเกษตรกรที่มีพื้นที่จากัดแต่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ในการดาเนินงานแบบมีส่วนร่วม เน้นการเข้าถึงประชาชนผ่านการประชุมสัญจรของผู้นาชุมชน โดยมีการหมุนเวียนไปทุกหมู่บ้านเป็นประจาทุกเดือน เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนแนวทางการทางานและการแก้ไขปัญหา และมีการออกจัดทาแผนพัฒนาตาบล เพื่อรับฟังความคิดเห็น ความต้องการและปัญหาของประชาชนอย่างต่อเนื่องและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตาบลเม็กดา ด้วยการเข้าร่วมเป็นกรรมการในการตรวจสอบการดาเนินงาน จึงทาให้รูปธรรมของการดาเนินงานมีองค์ประกอบจากการทางานร่วมกันของ 4 ภาคส่วน แม้เป็นตาบลที่มีขนาดใหญ่ แต่สามารถทางานและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง มีการจัดสวัสดิการชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งและดูแลกองทุนในหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งในปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนทั้งหมด 23 กองทุน โดยองค์การบริหารส่วนตาบลเม็กดามีหน้าที่ดูแลและเป็นตัวกลางในการประสานงานกับภาครัฐ ซึ่งผู้วิจัยและคณะได้ลงพื้นที่สารวจบริบทพื้นที่วิจัยและความต้องการของสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดาเบื้องต้น พบว่า สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดามีความต้องการที่พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดา อาเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อที่สมาชิกสามารถดูข้อมูลของกองทุนสวัสดิการชุมชนเม็กดา ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่โครงสร้างการบริหารกองทุน ที่มาของเงินกองทุน สวัสดิการที่ชาวบ้านได้รับ ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นต้น โดยให้นักวิชาการหรือนักวิจัยมาช่วยพัฒนาเว็บไซต์กองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดา และอบรมการใช้เว็บไซต์กองทุนสวัสดิการชุมชนตาบลเม็กดาให้กับสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ